การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษามะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูกด้วยวิธีการผ่าตัดระหว่างกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแล้วใส่ Intramedullary Fixation กับ Extramedullary Fixation ในผู้ป่วยมะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูกที่เข้ารับการผ่าตัดที่กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ในโรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • บรรจบ อริยะบุญศิริ กลุ่มงานออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • อนันต์ สัจจะมุนีวงศ์ กลุ่มงานออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • ซานญาต้า เหลืองจินดารัตน์ กลุ่มงานออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • พงศกร บุบผะเรณู กลุ่มงานออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • อธิคม เมธาเธียร กลุ่มงานออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

เนื้องอกในกระดูกระยะลุกลาม, การแตกหักของกระดูก, การตรึงกระดูก, ผลลัพธ์ผ่าตัด, การเปรียบเทียบการรักษา

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: เนื้องอกในกระดูกระยะลุกลามมักส่งผลให้กระดูกต้นขาส่วนปลายหักจนทำให้ร่างกายอ่อนแอลงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อบรรเทาอาการปวดและฟื้นฟูการทำงาน แม้ว่าเทคนิคการยึดตรึงกระดูกภายในกระดูกและภายนอกกระดูกจะถูกนำมาใช้โดยทั่วไป แต่ประสิทธิผลในการเปรียบเทียบในการบรรลุเป้าหมายการรักษายังคงไม่แน่นอน วัตถุประสงค์: การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งเเพร่กระจายมาที่กระดูกบริเวณ proximal femur ที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลราชวิถี โดยทำการเปรียบเทียบการผ่าตัดระหว่างกลุ่ม intramedullary fixation เเละกลุ่ม extramedullary fixation เพื่อดูใน เรื่องของ MSTS score เเละภาวะเเทรกซ้อนของการผ่าตัด วิธีการ: เป็นการศึกษาเเบบย้อนหลังในคนไข้มะเร็งเเพร่ กระจายมาที่กระดูกบริเวณ proximal femur หักที่ได้เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลราชวิถี ตั้งเเต่ มกราคม พ.ศ. 2553 - มกราคม พ.ศ. 2559 โดยได้ทำการเก็บข้อมูลจากเเฟ้มประวัติ ของผู้ป่วยได้เเก่ เพศ อายุ ตำเเหน่งของมะเร็งเเพร่กระจายชนิดของมะเร็งปฐมภูมิข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน MSTS score VAS score วิธีการผ่าตัด อัตราการเสียเลือดเเละภาวะเเทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ผล: จากจำนวนผู้ป่วย 40 ราย มีจำนวนผู้ป่วย ชาย 18 ราย เเละผู้ป่วยหญิง 22 ราย โดยแบ่ง ผู้ป่วยเป็นกลุ่ม intramedullary fixation 20 รายเเละกลุ่ม extramedullary fixation 20 ราย ชนิดของมะเร็งปฐมภูมิที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งเต้านมจำนวน 16 ราย ตำเเหน่งของมะเร็งเเพร่กระจาย ที่พบมากที่สุด ได้เเก่ ตำเเหน่ง intertrochanteric จำนวน 33 ราย รองลงมา ได้เเก่ บริเวณ subtrochanteric จำนวน 4 รายเเละบริเวณ proximal femur จำนวน 3 ราย ค่าเฉลี่ย MSTS score เท่ากับ 23.90gif.latex?\pm1.07 ในกลุ่ม intramedullary fixation เเละ 19.70gif.latex?\pm1.13 ในกลุ่ม extramedullary fixation ภาวะเเทรกซ้อนหลังการผ่าตัดพบมีการติดเชื้อบริเวณ เเผลผ่าตัด 1 รายในกลุ่ม extramedullary fixation สรุป: ในการรักษามะเร็งเเพร่กระจายมาที่กระดูกบริเวณ proximal femur หักจุดมุ่งหมายเพื่อลดอาการปวดของผู้ ป่วยเเละสามารถให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้เร็วเเละกลับไปใช้ชีวิต ประจำวันได้ใกล้เคียงเดิม โดยการผ่าตัด intramedullary fixation ให้ผลการประเมินในด้าน MSTS score ได้ดีกว่าเเละ เสียเลือดน้อยกว่าในกลุ่ม extramedullary fixation ส่วนในด้านภาวะเเทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไม่เเตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะทราบถึงผลการรักษาเเละภาวะเเทรกซ้อนใน ระยะยาวควรมีการเก็บ จำนวนผู้ป่วยให้มากขึ้นเเละติดตาม ผลการรักษาให้นานยิ่งขึ้น

References

Jasmin C, Coleman RE, Coia LR, Capanna R, Saillant G, Textbook of Bone Metastases. New Jersey: John Wiley & Sons Ltd; 2005. p. 163-84.

Zacherl M, Gruber G, Glehr M, Ofner - Kopeinig P, Radl R, Greitbauer M, et al. Surgery for pathological proximal femoral fractures, excluding femoral head and neck fractures. Int Orthop 2011;35(10):1537-43.

Chang YS, Sung TJ, Metastatic pathologic fractures in lower extremities treated with the locking plate. J Korean Bone Joint Tumor Soc 2010;16(2):80-6.

Shemesh S, Kosashvili Y, Sidon E, Yaari L, Cohen N, Velkes S. Intramedullary nailing without curettage and cement augmentation for the treatment of impending and complete pathological fractures of the proximal or midshaft femur. Acta Orthop Belg 2014; 80(1):144-50.

Hunt KJ, Gollogly S, Randall RL. Surgical fixation of pathologic fractures: an evaluation of evolving treatment methods. Bull Hosp Jt Dis 2006;63(3 - 4):77-82.

Zore Z, Filipović Zore I, Matejcić A, Kamal M, Arslani N, Knezović Zlatarić D. Surgical treatment of pathologic fractures in patients with metastatic tumors. Coll Antropol 2009; 33(4):1383-6.

Steensma M, Boland PJ, Morris CD, Athanasian E, Healey JH. Endoprosthetic treatment is more durable for pathologic proximal femur fractures. Clin Orthop Relat Res 2012;470(3):920-6.

Wedin R, Bauer HC. Surgical treatment of skeletal metastatic lesions of the proximal femur: endoprosthesis or reconstruction nail? J Bone Joint Surg Br 2005;87(12):1653-7.

Hattori H, Mibe J, Matsuoka H, Nagai S, Yamamoto K. Surgical management of metastatic disease of the proximal femur. J Orthop Surg (Hong Kong) 2007;15(3):295-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2024