ผลของขนาดช่องว่างในกระดูกหลังการผ่าตัดปรับกระดูกแบบเปิดช่องด้วยเหล็กยึดตรึงกระดูกด้านหน้า Open Wedge Osteotomy ด้วย Volar Locking Plate โดยไม่เสริมเนื้อกระดูกใช้ Bone Graft ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ Ulnar Variance ภายหลังการยึดตรึงกระดูก ในภาวะการติดผิดรูปของกระดูกเรเดียสส่วนปลาย

ผู้แต่ง

  • กิตติวรรณ สุพิชญางกูร กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • อุเทน เกตุแก้วสุวรรณ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • สุริยะ ลักษวุธ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • ยงยศ เหลืองวิชชเจริญ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี
  • วีรนนท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

กระดูกเรเดียสส่วนปลาย, กระดูกติดผิดรูป, การผ่าตัดปรับกระดูกแบบเปิดช่อง

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: การติดผิดรูปของกระดูกเรเดียสส่วนปลาย (distal radius malunion) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อมือ, พิสัยของข้อลดลง, ไม่สามารถกำมือได้สุด ส่งผลต่อการทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกติดผิดรูปของเรเดียสสามารถทำได้หลายวิธีการผ่าตัดโดยใช้ volar locking plate จะช่วยลดปัญหาการบาดเจ็บของ extensor tendon จากการใช้ dorsal plate ลงได้ การศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้กล่าวถึงขนาดของช่องว่างกระดูก (gap size) ที่เกิดขึ้น หลังทำ opening wedge osteotomy ว่ามีความสัมพันธ์กับลักษณะทางภาพรังสีของ ulnar variance, radial inclination และ volar tilt หรือไม่ จึงนำมาสู่คำถามงานวิจัยนี้ วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดช่องว่าง กระดูกว่ามีผลต่อ ulnar variance, radial inclination และ dorsal tilt หรือไม่ วิธีการ: ทำการเก็บข้อมูลจากทั้งผู้ป่วยเก่าและผู้ป่วยใหม่ ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกติดผิดรูปของกระดูกเรเดียสส่วนปลายโดยไม่ใช้ bone graft รวม 24 คน โดยประเมินภาพถ่ายทางรังสี, วัดขนาดช่องว่างกระดูก (gap size) หลังตัดกระดูก, วัดค่า ulnar variance, radial inclination, volar tilt ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดที่ระยะต่าง ๆ จนกระดูกติด ผล: ขนาดของ gap size หลังผ่าตัดเฉลี่ย 4.7mm, ระยะเวลาที่กระดูกติดเฉลี่ย 11.2 สัปดาห์ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง gap size กับการเปลี่ยนแปลงของภาพถ่ายทางรังสีดังกล่าวภายหลังการผ่าตัดจนกระดูกติด ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการเปลี่ยนแปลงภาพถ่ายทาง รังสีของ ulnar variance, radial inclination และ volar tilt หลังการผ่าตัดจนกระดูกติด และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง gap size กับระยะเวลาที่กระดูกติด พบว่า volar tilt ก่อน ผ่าตัดมีความสัมพันธ์เชิงลบ และพบว่าระยะเวลาตั้งแต่ บาดเจ็บจนได้รับการผ่าตัดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระยะเวลาที่กระดูกติดในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: เมื่อทำการผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกติดผิดรูปของกระดูกเรเดียสส่วนปลายโดยไม่ใช้ bone graft, ขนาดของ gap size ที่มากขึ้น ไม่มีผลต่อการทรุดของกระดูกภายหลัง การผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่มีผลต่อระยะเวลาที่กระดูกติด และพบว่า volar tilt ที่น้อยลงก่อนผ่าตัด, ระยะเวลาตั้งแต่บาดเจ็บจนได้รับการผ่าตัดที่นานขึ้น อาจส่งผลใช้เวลาในการติดของกระดูกหลังผ่าตัดที่นานขึ้น

References

Wolfe SW, Hotchkiss RN, Pederson WC, Kozin SH, Cohen MS. Green’s operative hand surgery. 7th ed. Philadelphia: Elsevier; 2017. pp.576-81.

Brogren E, Hofer M, Petranek M, Wagner P, Dahlin LB, Atroshi I. Relationship between distal radius fracture malunion and arm-related disability: a prospective population-based cohort study with 1-year follow-up. BMC Musculoskelet Disord 2011;12:9.

Grewal R, MacDermid JC. The risk of adverse outcomes in extra-articular distal radius fractures is increased with malalignment in patients of all ages but mitigated in older patients. J Hand Surg Am 2007;32(7):962-70.

Kodama N, Takemura Y, Ueba H, Imai S, Matsusue Y. Acceptable parameters for alignment of distal radius fracture with conservative treatment in elderly patients. J Orthop Sci 201419(2):292-7.

Mahmoud M, El Shafe S, Kamal M. Correction of dorsally-malunited extra-articular distal radial fractures using volar locked plates without bone grafting. J Bone Joint Surg Br 2012;94-B(8):1090-6.

Ozer K, Kiliç A, Sabel A, Ipaktchi K. The role of bone allografts in the treatment of angular malunions of the distal radius. J Hand Surg Am 2011;36(11): 1804-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2024