ผลการสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม ในชุมชนบ้านหนองทุ่ม อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • จินดาพร อุปถัมภ์ สำนักงานมาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การสร้างศักยภาพของชุมชน, การจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

บทคัดย่อ

ผลการสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม

ในชุมชนบ้านหนองทุ่ม อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ

The effect of Community Empowerment to management of drug
and
healthcare product problem in Ban Nong Thum, Phayu District,
Sisaket Province.

จินดาพร อุปถัมภ์[1]

Jindaporn Uppatham1

 

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ยา
ของประชาชนก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ไม่เหมาะสม พื้นที่ในการศึกษาคือ ชุมชนบ้านหนองทุ่ม อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการศึกษาวิจัย
กึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) ของกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือนบ้านหนองทุ่ม
ทุกครัวเรือน ก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพของชุมชน จำนวน 127 คน ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพ
ของชุมชน 3 เดือน มีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประเมินความรู้และพฤติกรรมการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์
ทางสถิติใช้ paired t – test กำหนดนัยสำคัญที่ P < 0.05 รวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563
ถึง 31 สิงหาคม 2563

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 127 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.3 อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 34.6 วุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 70.1 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 63.0 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 89.0 หลังการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม คะแนนความรู้โดยรวมของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.0 ± 2.0 vs. 9.0 ± 1.2, p < 0.001) โดยเพิ่มจากระดับดีเป็นระดับดีมาก และระดับพฤติกรรมโดยรวมของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.7 ± 0.6 vs. 3.7 ± 0.3, p < 0.001) โดยเพิ่มจากระดับดีเป็นระดับดีมาก ดังนั้นรูปแบบการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชนต้นแบบของจังหวัดสามารถใช้กับชุมชนบ้านหนองทุ่มได้ เพราะทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคยาอย่างปลอดภัยในทางที่ดีขึ้น และเกิดแนวทางการจัดการปัญหาการโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบ
ของธรรมนูญชุมชน ซึ่งสามารถนำไปขยายผลยังชุมชนที่มีปัญหาลักษณะเดียวกันได้

คำสำคัญ: การสร้างศักยภาพของชุมชน การจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

[1] เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

[1] Pharmacist, Professional Level. Department of Consumer Protection and Public Health Pharmacy, Chonburi Public Health Office. Email : preang3@hotmail.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-29