สถานการณ์และความรอบรู้ด้านยาของพระในวัด อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • จันทร์จรีย์ ดอกบัว รพ.ปทุมราชวงศา
  • กมลชนก ขันทะ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: เครือข่าย เฝ้าระวัง ยา วัด อาการไม่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

กระบวนการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาในวัด

อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

The process of surveillance of drug safety in the temple,

Pathumratchawongsa District Amnat Charoen Province.

จันทร์จรีย์ ดอกบัว1

กมลชนก ขันทะ2

Janjaree Dokbua1

Kamonchanok Khantha2

 

บทคัดย่อ

          พระภิกษุเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการเกิดปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ปัญหาการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในวัด ได้แก่ ใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง พบยาอันตรายในชุดสังฆทาน พฤติกรรมการใช้ยาร่วมกันของพระเณร ไม่ร่วมมือในการใช้ยา ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่พระเณรได้ เช่น เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสถานการณ์ และจัดระบบการเฝ้าระวังเรื่องยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพภายในวัด วิธีการศึกษา: งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พระประจำวัดในพื้นที่ปทุมราชวงศาทั้งหมด 31 วัด ดำเนินการระหว่าง เม.ย. 2564 – พ.ค. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า พระทั้งหมด 110 รูป มีโรคเรื้อรัง ร้อยละ 26.36 เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 48 และ 28 ตามลำดับ ร้อยละ 45 ใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น เก็บยารวมในขวดโหลหรือไม่ใส่ซองยา หักยาโดยการกัด หยุดใช้ยาหรือปรับขนาดยาเอง เคี้ยวยาจากความเชื่อ การสำรองยาใช้ในวัด ร้อยละ 77 ได้มาจากสังฆทาน พบยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดหรือยากลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ร้อยละ 10, 0.2 และ 9 ตามลำดับ มีการใช้ยาสมุนไพร ร้อยละ 48 คือ ยาต้มฟ้าทะลายโจร การจัดเก็บยาขึ้นกับความสะดวกในการหยิบใช้ พบยาเสื่อมสภาพและยาหมดอายุ ร้อยละ 10.55 และ 11.08 ตามลำดับ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ก่อให้เกิดกระบวนการเฝ้าระวัง เพื่อจัดการความเสี่ยงมากขึ้น ได้แก่ มีสายตรวจวัด ดูแลการใช้ยาและให้ความรู้ในชุมชน มีการยกย่องเชิดชูเกียรติสำหรับวัดที่ผ่านการประเมิน กลไกดังกล่าวส่งผลให้ไม่พบยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในวัด ไม่พบผู้ป่วยจากการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เกิดระบบการเฝ้าระวังยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมโดยเครือข่าย

          กระบวนการเพื่อให้เกิดการใช้ยาในวัดที่เหมาะสม บูรณาการจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคสังคม ขับเคลื่อนให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ผ่านกลไกพชอ. เสนอให้ขยายผลให้ครอบคลุมทั้งอำเภอเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาให้แก่พระเณรในวัด

คำสำคัญ: เครือข่าย เฝ้าระวัง ยา วัด อาการไม่พึงประสงค์

 

1 หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

2 นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-29