สถานการณ์การจำหน่ายยาในร้านขายของชำ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: ร้านขายของชำ ยาไม่เหมาะสมบทคัดย่อ
สถานการณ์การจำหน่ายยาในร้านขายของชำ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
The situation of drug distribution in the grocery store,
Pathumratchawongsa District Amnatcharoen Province.
จันทร์จรีย์ ดอกบัว1
รัตนาภรณ์ ขันติมัง2
หทัยรัชต์ พุกสอาด, ณัฐพร สู่หนองบัว3
Janjaree Dokbua1
Rattanaporn Kuntimong2
Hathairat Puksahad, Nattaporn Sunongbua3
บทคัดย่อ
เมื่อเกิดการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ประชาชนมักจะเลือกใช้บริการร้านชำ เนื่องจากเป็นหน่วยบริการที่ใกล้และสะดวกที่สุด แต่พบว่า ร้านชำมีการจำหน่ายยาอื่น ๆ นอกเหนือจากยาสามัญประจำบ้าน เป็นสาเหตุทำให้เกิดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมได้ การศึกษาสถานการณ์การขายยาที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขายได้ในร้านค้าของชำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อนำไปสู่กระบวนการจัดการการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในชุมชนในอำเภอปทุมราชวงศาต่อไป มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจำหน่ายยาในร้านขายของชำ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยการสำรวจด้วยแบบเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร คือ ผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่ปทุมราชวงศาทั้งหมด 202 ร้าน ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2561-2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา จากการสำรวจร้านขายของชำทั้งหมดในเขตอำเภอปทุมราชวงศาปีพ.ศ. 2561-2563 พบว่า นอกเหนือจากยาสามัญประจำบ้านแล้ว ร้านค้าดังกล่าวมีการขายยาประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขายได้ในร้านค้าของชำมากที่สุด ได้แก่ ยาอันตราย คิดเป็นร้อยละ 27.12, 17.32 และ 16.58 ตามลำดับ และเส้นทางการกระจายยาสู่ร้านชำในชุมชนจากข้อมูลที่มีในปี 2561 และ 2563 ที่มากที่สุดอันดับหนึ่ง ได้แก่ ร้านยา (ขย.1) ในทั้ง 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.92 และ 46.32 ตามลำดับ ความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านชำพบว่า ควรให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านชำในส่วนของความรู้ความเข้าใจในการจำหน่ายยา การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดการเฝ้าระวังจัดการความเสี่ยงที่ชัดเจน ได้แก่ มีศูนย์เฝ้าระวังและแหล่งความรู้ในชุมชน ก่อให้เกิดความปลอดภัยในการเลือกใช้ยา และประกาศเป็นนโยบายในระดับอำเภอ ทำบันทึกข้อตกลง MOU การตั้งกฎกติกาของหมู่บ้าน ดำเนินการตามกฎดังกล่าว ส่งผลให้ยาอันตรายในร้านชำลดลง
การดำเนินงานเรื่องของการจำหน่ายยาในร้านขายของชำนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด และมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของการให้ความรู้ การตรวจสอบให้คำแนะนำ การใช้กลไกชุมชนในการดำเนินการเพื่อให้เกิดการจำหน่ายยาที่ถูกต้อง ปลอดยาอันตรายได้ทุกร้าน และควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการนำยาที่ไม่เหมาะสมมาขายในร้านค้าของชำ เพื่อการจัดการปัญหาที่เหมาะสมในแต่ละปัจจัย
คำสำคัญ: ร้านขายของชำ ยาไม่เหมาะสม
1 หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
2 เจ้าพนักงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
3 นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว