ผลการให้ความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภค ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • เจริญลักษณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ความรู้ พฤติกรรม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้และพฤติกรรมก่อนและหลังการให้ความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของประชาชนชุมชนบ้านใหม่พัฒนา ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ Experimental study,  Pretest-Posttest intervention วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย Paired sample t-test (p < 0.05) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายจำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.3) อายุ 51-60 ปี (ร้อยละ 40.0) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 50.8) ผลการให้ความรู้พบว่า คะแนนความรู้ในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 9.06 ± 1.67 และ 13.55 ± 1.26 (p < 0.001) ระดับความรู้เพิ่มขึ้นจากระดับดี   เป็นดีมาก คะแนนความรู้เฉลี่ยมากที่สุดคือด้านยา น้อยที่สุดคือด้านเครื่องสำอาง ผลพฤติกรรมพบว่า คะแนนพฤติกรรมเหมาะสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 48.34 ± 4.09 และ 53.84 ± 3.29 (p < 0.001) ระดับพฤติกรรมเพิ่มขึ้นจากระดับเหมาะสมมากเป็นมากที่สุด คะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านยา น้อยที่สุดคือด้านเครื่องสำอาง ดังนั้น การให้ความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นจากระดับดี   เป็นดีมาก มีพฤติกรรมที่เหมาะสมมากขึ้นจากระดับเหมาะสมมากเป็นมากที่สุด โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้คะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมมากที่สุดคือด้านยา น้อยที่สุดคือด้านเครื่องสำอาง     

 

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12