การพัฒนาระบบเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ผู้แต่ง

  • ประกาย หมายมั่น -

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, วัคซีน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระบบ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง (Adverse Events Following Immunization: AEFI) ในโรงพยาบาล วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการแจ้งเตือน แล้วรวบรวมเอกสารสำหรับการประกอบการรายงาน AEFI จากฐานข้อมูลในโรงพยาบาล แล้วสัมภาษณ์เจาะลึกและจัดสนทนากลุ่มผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและผู้เกี่ยวข้องกับระบบรักษาพยาบาล เพื่อรับทราบปัญหาและร่วมหาแนวทางพัฒนาระบบเฝ้าระวัง AEFI ข้อมูลเชิงปริมาณจากฐานข้อมูลรายงาน AEFI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบ Thematic analysis ผลการวิจัย : ปัญหาสำคัญที่พบคือระบบการแจ้งข้อมูลเมื่อผู้ได้รับวัคซีนเกิด AEFI พัฒนาโดยปรับปรุงแนวทางเดิม เพิ่มเติมดังนี้ 1) เพิ่มแบบคัดกรองผู้รับวัคซีนเพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนสำหรับการบันทึกรายงานเมื่อเกิดอาการ AEFI โดยปรับปรุงแบบคัดกรองให้มีข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม 2) เพิ่มแบบติดตามแบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีนเพื่อให้ผู้รับวัคซีนสามารถประเมินตนเองเมื่อเกิดอาการ 3) เพิ่มระบบการแจ้งเตือน (Pop up) ในระบบบริการผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรสามารถตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนได้ครบถ้วน รวดเร็วมากขึ้น สรุป : ปัญหาของระบบเฝ้าระวัง AEFI ที่สำคัญคือการแจ้งเตือนหรือการค้นหาผู้ป่วยที่สงสัย AEFI ดังนั้นการพัฒนาระบบเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือการสร้างเครื่องมือให้ผู้ได้รับวัคซีนสามารถประเมินอาการตนเองได้ ในระบบบริการผู้ป่วยต้องมีระบบการแจ้งเตือนให้ผู้ให้บริการทราบถึงประวัติการได้รับวัคซีนเพื่อประกอบการพิจารณารักษาผู้ป่วยและส่งต่อข้อมูลในระบบรายงาน AEFI ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-02 — Updated on 2022-05-02

Versions