การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการประเมินร้านขายยาในจังหวัดเพชรบุรี ตามเกณฑ์วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน

ผู้แต่ง

  • พงศ์พิสิฐ นานานุกูล Phetchaburi Provincial Public Health Office

คำสำคัญ:

Modern drug store, Good Pharmacy Practice, Drug store type

บทคัดย่อ

         

การศึกษาเชิงสำรวจ ภาคตัดขวาง ปัจจัยที่มีผลต่อผลการประเมินร้านขายยาในจังหวัดเพชรบุรีตามเกณฑ์วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินร้านขายยาในจังหวัดเพชรบุรี ตามเกณฑ์วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการประเมินร้านขายยาในจังหวัดเพชรบุรีตามเกณฑ์วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 102 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2565  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และบันทึกการประเมินวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่  ไค-สแควร์

ผลการประเมิน พบว่าค่าเฉลี่ยผลการประเมินในแต่ละหมวด อยู่ในระดับที่เกินร้อยละ 80 ทั้งสิ้น หมวดที่พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือหมวดที่ 2 อุปกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 92.3869 ค่าเฉลี่ยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 89.2989 ปัจจัยที่มีผลต่อผลการประเมินร้านขายยาในจังหวัดเพชรบุรีตามเกณฑ์วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน คือ เพศ อาชีพ รายได้ต่อเดือน  สถานภาพสมรส ประเภทร้านขายยา จำนวนชั่วโมงที่เปิดทำการ อำเภอที่ตั้งร้านขายยา ความเป็นเจ้าของอาคาร และระยะเวลาในการประกอบกิจการ ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อความพึงพอใจในบริการ คือ อายุ ระดับการศึกษา และจำนวนเภสัชกรที่ปฏิบัติการ   

หากมีการศึกษาวิจัยปัจจัยอื่นเพิ่มเติมโดยเฉพาะในร้านขายยาที่มีผลการประเมินต่ำ หรือไม่ผ่านการประเมิน และกำหนดแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงร้านขายยา เมื่อร้านขายยาได้ดำเนินการพัฒนา ปรับปรุงตามแนวทางแล้ว จึงดำเนินการประเมินเพื่อให้คะแนนประเมินของร้านขายยาเพิ่มมากขึ้น ในลักษณะการศึกษาวิจัยแบบการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ประชาชนก็จะได้รับบริการจากร้านขายยาที่มีคุณภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-09