การพยากรณ์แนวโน้มการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ชยพล สินวรณ์ -

คำสำคัญ:

Key words : Simple Exponential Smoothing Method

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎีการพยากรณ์และวิเคราะห์ปริมาณการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชนในปัจจุบัน 2) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดขึ้นจริงกับการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในอนาคต และ  3) เพื่อนำข้อมูลพยากรณ์แนวโน้มการเกิดเรื่องร้องเรียน ไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานหรือช่วยในการกำหนดแนวทางในการจัดการเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ หัวหน้างาน รองหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยวิธีการพยากรณ์แบบปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียลแบบง่าย (Simple Exponential Smoothing Method) และนำผลการพยากรณ์วัดประสิทธิภาพของการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error, MAPE ) สรุปผลและเสนอในรูปของความเรียง ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) การพยากรณ์แบบเรียบเอ็กโปเนนเชียลแบบง่าย (Simple Exponential Smoothing Method) เป็นวิธีการที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลปริมาณการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดเนื่องจากข้อมูลอนุกรมเวลาของการเกิดเรื่องร้องเรียนที่ไม่มีอิทธิพลของฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผลการทดสอบการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบว่า การดำเนินคดีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีค่าการพยากรณ์แม่นยำสูงสุด (MAPE = 23.59) 2) การเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถิติย้อนหลัง 6 ปีงบประมาณ (พ.ศ.2560-2565) พบว่า มีการจัดการเรื่องร้องเรียนเทียบกับจำนวนการร้องเรียน คิดเป็นอัตราร้อยละ 92.88 ซึ่งสะท้อนการดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนอยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องกับความคิดเห็นต่อการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกลุ่มตัวอย่างที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานดังกล่าวที่มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานจัดการเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.15) โดยมีการดำเนินงานจัดการเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพมากที่สุดในด้านการให้บริการข่าวสารความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ รองลงมา คือ การกำกับและควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการบริการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามลำดับ และ 3) แนวโน้มการเกิดเรื่องร้องเรียน ในอนาคต 5 ปี จากปี พ.ศ. 2566 – 2570 พบว่า มีแนวโน้มปริมาณการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น การดำเนินงานจัดการเรื่องร้องเรียน ถือเป็นกลไกสำคัญในควบคุมผลกระทบที่จะช่วยลดปริมาณการเกิดข้อร้องเรียนในด้านอื่น ๆ ได้ การเพิ่มมาตรการและกลไกในการดำเนินงานจัดการข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทันท่วงที จะช่วยลดแนวโน้มปริมาณการเกิดเรื่องร้องเรียนด้านอื่น ๆ ตามไปด้วย ดังนั้น การวางแผน การกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ดีด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในอนาคตให้เป็นไปตามนโยบายของประเทศ ตามกรอบมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดจะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชนได้

คำสำคัญ: วิธีการพยากรณ์แบบปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียลแบบง่าย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-09