ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมคำนวณปริมาณยาและจำนวนเม็ดยาในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ยาวาร์ฟาริน ;International Normalized Ratio (INR); Time in the Therapeutic Range (TTR); ความคลาดเคลื่อนทางยา;เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์บทคัดย่อ
ยาวาร์ฟารินเป็นยาที่ใช้ป้องกันและรักษาภาวะอุดตันของหลอดเลือด ยามีดัชนีการรักษาแคบจึงต้องคำนวณขนาดยาให้สอดคล้องกับค่า INR (International Normalized Ratio)ของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาและความปลอดภัยจากการใช้ยา การพัฒนาโปรแกรมคำนวณปริมาณยาและจำนวนเม็ดยาในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลกันทรารมย์มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้ค่า INR ของผู้ป่วยอยู่ในช่วงระดับการรักษา (TTR:Time in therapeutic range) มากกว่าร้อยละ 60 (2) ลดความเสี่ยงหรือป้องกันการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์หรือเป็นอันตรายจากการใช้ยาวาร์ฟาริน (3) ลดระยะเวลาในการคำนวณขนาดยาและจำนวนเม็ดยาวาร์ฟารินให้ผู้ป่วย วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในคลินิกวาร์ฟารินก่อนและหลังการใช้โปรแกรมคำนวณขนาดยาและจำนวนเม็ดยาวาร์ฟารินที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย การทดสอบ Paired Sample T-test และChi-square ผลการศึกษาการวิจัยพบว่า (1) ค่าเฉลี่ย TTR หลังจากใช้โปรแกรมคำนวณขนาดยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 40.99 ± 21.78 เป็นร้อยละ 65.11 ± 27.5 (p-value <0.001) (2) ความคลาดเคลื่อนทางยาเกี่ยวกับจำนวนเม็ดยาไม่พอดีวันนัด สั่งยาเกินขนาด และการเลือกคำสั่งใช้ยาวาร์ฟารินผิดวิธีลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05 (3) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการเกิดภาวะเลือดออกจากการใช้ยาลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) (4) ค่าเฉลี่ยเวลาในการคำนวณขนาดยาและจำนวนเม็ดยาวาร์ฟารินลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติจาก 5.37± 1.55 เหลือ 0.45 ± 0.75 นาที (p-value <0.001) สรุปผลการวิจัย: งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการวางแผนการจัดการระบบยาและโปรแกรมช่วยคำนวณขนาดยาและจำนวนเม็ดยาในคลินิกวาร์ฟารินที่ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยาและลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ตลอดจนช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการผู้ป่วยลงได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว