การพัฒนาศักยภาพประชาชนที่สนใจปลูกกัญชา กัญชง พืชเศรษฐกิจจังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • พัทยา หวังสุข -

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปลูกกัญชากัญชงในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ 2) เพื่อจัดกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพประชาชนที่สนใจปลูกกัญชา กัญชง พืชเศรษฐกิจจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครซี่ และ มอร์แกน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire)  ผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ (Google From) ดำเนินงานระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 และระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 98 คน คือกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) ดำเนินการในวันที่ 19 มกราคม 2566 โดยการดำเนินงานทั้ง 2 ระยะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปลูกกัญชากัญชง คือ อยากมีรายได้เพิ่มขึ้น และปัจจัยที่ส่งเสริมการปลูกโดยรวม อยู่ในระดับมาก (  = 3.68) มีปัจจัยสูงสุด ได้แก่ ด้านการเมือง           ข้อเสนอแนะ คือ การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกอย่างถูกวิธี การใช้กัญชาอย่างถูกต้อง รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกัญชากัญชง ระยะที่ 2 การจัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพประชาชนที่สนใจปลูกกัญชา กัญชงพืชเศรษฐกิจ จังหวัดอำนาจเจริญ ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (  = 4.41) ได้รับการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 80.49 ผลการประเมินแบบ CIPP Model พบว่า กลุ่มตัวอย่างความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.38) กลุ่มตัวอย่างให้ความคิดเห็นต่อผลที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด คือ ได้รับความรู้ใหม่ ทักษะการปฏิบัติจริง สามารถนำความรู้หรือทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในพัฒนาอาชีพและการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มและบุคคล การนำไปต่อยอดในชุมชน บรรลุตามเป้าหมายเชิงคุณภาพและได้รับการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ข้อเสนอแนะจากการประเมินกิจกรรมสามารถนำผลการประเมินไปใช้วางรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบาย  การพัฒนางานกัญชา กัญชงพืชเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23