ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) ของผู้ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สุอาภา กลั่นประเสริฐ -
  • สาโรจน์ นาคจู

คำสำคัญ:

หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี, จีเอ็มพี, น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) ของผู้ผลิตน้ำบริโภคฯ เป็นศึกษาวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ผู้วิจัยศึกษาในกลุ่มประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย 1) ผู้ผลิตน้ำบริโภคฯ จำนวน 42 คนเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณและ 2) พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 5 คน เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามของผู้ผลิตน้ำบริโภคฯ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างของหน่วยงาน 3) แบบการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเองนั้น มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่น โดยมีค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค มากกว่าหรือเท่ากับ 0.7

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ผลิตน้ำบริโภคฯ ร้อยละ 40.5 ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จีเอ็มพี ปัญหาที่พบ ได้แก่ การควบคุมการผลิต ระบบบันทึกรายงาน การทดสอบคุณภาพน้ำบริโภคด้วย ชุดทดสอบอย่างง่ายและผลวิเคราะห์น้ำบริโภคฯและน้ำดิบและการจัดให้มีผู้ควบคุมกระบวนการผลิตน้ำบริโภคฯ นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จีเอ็มพี ได้แก่ ความรู้เรื่องหลักเกณฑ์จีเอ็มพีของผู้ผลิตน้ำบริโภคฯ (p gif.latex?< 0.001) ผลการสอบหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคฯ (p gif.latex?< 0.001) การศึกษาด้วยตนเองจากค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต (p gif.latex?= 0.003) และการได้รับรางวัลแม่กลองการันตี ปี 2565 (p gif.latex?< 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

การตรวจประเมินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จีเอ็มพีของผู้ผลิตน้ำบริโภคฯ ควรมีการดำเนินต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนและกระตุ้นเตือนปัจจัยต่างๆให้ผู้ผลิตน้ำบริโภคฯได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของหลักเกณฑ์จีเอ็มพี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-10