ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อสม. ความรู้ในงานคุ้มครองผู้บริโภค การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคล เจตคติ ความรู้ในการปฏิบัติงาน ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน (2) ระดับของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข และ(3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดสมุทรสงคราม ทำการศึกษาระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2566 ประชากรที่ศึกษา คือ อสม. จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 2,238 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้ตัวอย่าง อสม.ที่ศึกษา จำนวน 374 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติในการปฏิบัติงาน ความรู้ในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค และข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.35 ปี อาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ย 8,133.71 บาท จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สถานภาพสมรสคู่ นับถือศาสนาพุทธ มีสถานภาพทางสังคม ส่วนใหญ่เป็นกรรมการหมู่บ้าน ระยะเวลาในการเป็น อสม. เฉลี่ย 13.65 ปี เจตคติในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ความรู้ในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค และปัจจัยสนับสนุนด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (2) การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของ อสม. คือ การทำอาชีพธุรกิจส่วนตัว การมีสถานภาพทางสังคม เจตคติในการปฏิบัติงาน ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการได้รับการนิเทศจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และปัจจัยทั้ง 5 สามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของ อสม. ได้ร้อยละ 50.6 (R2 = 0.506) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p-value = 0.012) ข้อเสนอแนะ ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรพัฒนาภาวะผู้นำ อสม. จัดให้มีการคัดกรองคุณสมบัติ อสม. ให้ถี่ถ้วนในทุกด้าน ควรส่งเสริมให้เกิดเจตคติที่ดีในทางบวกด้วยการฝึกอบรม พูดคุย นำเสนอแบบอย่าง (Role model) ชักจูง และควรให้การสนันสนุน การจัดฝึกอบรม งบประมาณ สื่อความรู้ต่าง ๆ อุปกรณ์ในการตรวจสารปนเปื้อน และเป็นพี่เลี้ยงร่วมปฏิบัติการหรือร่วมทำงาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว