การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ ให้ได้มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
คำสำคัญ:
สถานที่ผลิต, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, พัฒนา, มาตรฐาน, แนวทางบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาเหตุปัจจัยที่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการขออนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการให้ได้มาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผ่านการอบรมมาตรฐานสถานที่ผลิตเบื้องต้น โดยสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนวิสาหกิจชุมชน จำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอนุญาตสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 5 คน หาสาเหตุที่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการขออนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ค้นคว้า ทบทวนวรรณกรรม สังเคราะห์ข้อมูล จัดทำร่างแนวทางส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ดำเนินการสนทนากลุ่ม ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนและเจ้าหน้าที่ เพื่อพัฒนาแนวทางที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบ ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจัยด้านการเงิน เงินทุนในการพัฒนาสถานที่ และเงินทุนสำหรับซื้อวัตถุดิบ และความเข้าใจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนว่าสามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต หากจำหน่ายในเขตชุมชนของตน และความไม่เข้าใจในขั้นตอนการขออนุญาตและความรู้ในการจัดการสถานที่ผลิตของตนให้เข้าสู่มาตรฐาน แนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ ให้ได้มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยใช้กลยุทธ ADKAR ประกอบด้วย A : Awareness การสร้างความตระหนักรู้ ถึงความจำเป็นของการพัฒนาสถานที่ผลิตให้ได้ตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา D : Desire สร้างความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง จูงใจให้วิสาหกิจชุมชน ทำแผนพัฒนาสถานที่ K : Knowledge จัดอบรมความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนามาตรฐานสถานที่ และขั้นตอนในการดำเนินการให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา A : Ability สนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสถานที่ โดยการแนะนำเชิงรุก ณ สถานที่ผลิต การอำนวยความสะดวกในการจัดทำแปลนสถานที่ผลิต จัดทำตัวอย่างเอกสารที่ใช้ในการยื่นขออนุญาต R : Reinforcement การส่งเสริมความรู้ด้านการตลาด การทำแผนธุรกิจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตรงความต้องการของลูกค้า เพื่อความยั่งยืน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว