การวิจัยเชิงประเมินผลการนำนโยบายกัญชาเพื่อสุขภาพทางการแพทย์ไปปฏิบัติในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบตอบสนอง
คำสำคัญ:
กัญชาเพื่อสุขภาพและทางการแพทย์, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, เครือข่ายสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลการนำนโยบายกัญชาเพื่อสุขภาพและทางการแพทย์ไปปฏิบัติในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมสหวิชาชีพ จำนวน 20 คน เครือข่ายผู้ปลูก ผู้แปรรูปและผู้ใช้สมุนไพรกัญชา/กัญชง จำนวน 80 คน และผู้รับบริหารหรือญาติ จำนวน 119 คน ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 และ0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนำเข้าโดยรวมมีเพียงพอและเหมาะสม (75%) กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 3.99,SD.= 0.52) และผลการนำนโยบายกัญชาทางการแพทย์ไปปฏิบัติ พบว่า ผู้ป่วยและญาติมีความรู้เกี่ยวกับกัญชาเพื่อสุขภาพ และทางการแพทย์ โดยรวม
(70.1%) และการวิเคราะห์บริบทเชิงระบบและความพร้อมการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของโรงพยาบาล พบว่า โดยรวมอยู่ในมากที่สุด (mean=3.69, SD=0.78)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว