ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการนำยาที่ไม่เหมาะสมเข้ามาจำหน่ายในร้านชำในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • อัญชลีน ณ พัทลุง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

บทคัดย่อ

  การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการนำยาที่ไม่เหมาะสมเข้ามาจำหน่ายในร้านชำ ในจังหวัดภูเก็ต จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 292 ร้าน ศึกษาในช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคม 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็น เพศหญิง    ร้อยละ 71.9 มีอายุอยู่ระหว่างมากกว่า 40 – 60 ปี ร้อยละ 56.2 การศึกษาสูงสุด ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 34.2 รายได้ต่อเดือน ตั้งแต่ 5,000 – 15,000 บาท ร้อยละ 57.5 ปัจจัยในการนำยาเข้ามาจำหน่ายในร้านชำ ส่วนใหญ่ยามียี่ห้อที่คนทั่วไปรู้จัก ด้านราคาสามารถกำหนดราคาขายได้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามความต้องการของคนในชุมชน/มีการร้องขอให้นำมาจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดจากการโฆษณาจากสื่อ ได้แก่ สถานีวิทยุ, สื่อออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ต, เฟสบุ๊ค, ยูทูป, เคเบิ้ลทีวี ร้อยละ 97.6, 29.8, 80.8 และ 23.3 ตามลำดับ ปัจจัยด้านการจัดการจำหน่ายยาในร้านชำ ส่วนใหญ่ ระยะเวลาในการเปิดร้าน มากกว่า 5 – 10 ปี ลักษณะการจำหน่ายสินค้า ส่วนใหญ่ขายปลีก ผู้จำหน่ายยาไม่เคยผ่านการอบรมหรือได้รับคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุขในเรื่องกฎหมายการห้ามจำหน่ายยาในร้านชำ ระยะทางระหว่างร้านชำกับร้านขายยามีระยะทางอยู่ระหว่าง 1 – 3 กิโลเมตร การจัดเก็บยาในร้านชำเก็บยาเหมาะสม เก็บยาไม่เป็นสัดส่วนปะปนกับผลิตภัณฑ์อื่น ผู้ซื้อไม่สามารถหยิบยาที่ต้องการได้เอง ร้อยละ 29.8, 89.0, 79.5, 45.2, 71.2, 22.6 และ 70.5 ตามลำดับ ประเภทของยาที่จำหน่ายในร้านชำ พบการจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน ร้อยละ 99.3 ยาที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 81.8 ระดับการศึกษา การมีบริการหลังการขาย สามารถคืนยาที่หมดอายุได้ ความต้องการของเจ้าของร้าน ความต้องการของคนในชุมชน/มีการร้องขอให้นำมาจำหน่าย การได้รับคำแนะนำจากร้านขายยา และการโฆษณาจากสื่อ ได้แก่ สถานีวิทยุ, สื่อออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ต, เฟสบุ๊ค, ยูทูป, เคเบิ้ลทีวี การมีบริการส่งยาถึงร้าน การมีโปรโมชั่นสินค้าอื่นแถม ระยะทางระหว่างร้านชำกับร้านขายยา และผู้ซื้อสามารถหยิบยาที่ต้องการได้เอง มีความสัมพันธ์กับการนำยาที่ไม่เหมาะสมเข้ามาจำหน่ายในร้านชำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (α <.05) ซึ่งการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำเป็นความต้องการของคนในชุมชน การโฆษณาจากสื่อ มีโปรโมชั่นสินค้าอื่นแถม ความสะดวกในการซื้อมาใช้ และผู้จำหน่ายยาไม่เคยผ่านการอบรมหรือได้รับคำแนะนำ อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล และทำให้เกิดอันตรายจากเชื้อดื้อยา จึงควรให้ความรู้กับประชาชน และอบรมผู้ประกอบการ และมีแนวทางในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกระดับ

คำสำคัญ: ปัจจัย, ยาที่ไม่เหมาะสม, ร้านชำ

References

กาญจนา เสียงใส, ลีลาวดี ศรีสอน, นริศรา พรมบุตร. การพัฒนาแนวทางเพื่อลดการจำหน่ายยาผิดกฎหมายของร้านชำในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2565; 14(1): 62–9

อัปสร บุญยัง, รุ่งทิวา หมื่นปา. ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัด พิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562; 11(1): 105–18.

วชิราภรณ์ จันทร์โพธนุกูล, ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น.ปัจจัยที่มีอิทธิพลพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพ การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้บริโภค ต่อซุปเปอร์มาร์เก็ตตลาดสด และร้านขายของชำในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์; 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://kb.psu.ac.th/psukb/ handle/2010/5942

พยอม เพชระบูรณิน, สุรศักดิ์ เสาแก้ว. ความชุกของยาไม่ปลอดภัยในร้านชา:กรณีศึกษาอำเภอหล่มเก่าเขาค้อและน้าหนาวจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารเภสัชกรรมไทย[อินเทอร์เน็ต]. 2562; 11(2): 422–30

ภาณุ วิริยานุทัย. ความชุกและลักษณะของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง. วารสารเภสัชกรรมไทย.2558; 2(7): 167-76

ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ. ความชุกของการจำหน่ายยาอย่างผิดกฎหมายในร้านชำอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562; 11(2): 387–96

เบญจมาศ บุดดาวงศ์ และคณะ. แหล่งต้นทางและเส้นทางการกระจายยาไม่เหมาะสมในชุมชนจาก 8 จังหวัด สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาการกระจายยาไม่เหมาะสมเชิงระบบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เมษายน 2]; 11(ฉบับพิเศษ): 260-68. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/IJPS/article/view/48615

สำนักงานจังหวัดภูเก็ต กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด [อินเทอร์เน็ต]. ภูเก็ต:สำนักงาน;2566. แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ฉบับทบทวน ปี 2567. [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phuket.go.th/webpk/contents.php?str= plan

กชพรรณ พฤกษสุวรรณ. โครงการร้านชำปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ต.ภูเก็ต: สำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต; 2565.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ดิเรก ศรีสุโข, และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์.การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.

กัลยา วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2544.

ธีระยุทธ นาคฤทธิ์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ตุลาคม 7];3(1): 163–75. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/260999

สรรธิวัฒน์ เลิศภานิธิศ, สุรศักดิ์ เสาแก้ว. การประเมินความรู้ด้านยา และสำรวจความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านขายของชำในเขตตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. เชียงรายเวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2566 ตุลาคม]; 7(2): 167–76. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/259561/177228

ปรุฬห์ รุจนธำรง. ยาสามัญประจำบ้านที่ขายในร้านชำหรือร้านสะดวกซื้อมียาอะไรได้บ้าง [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2566], เข้าถึงได้จาก: https://wizsastra.com/2017/10/15/householddrugs/

ภูธิป ศร่างเศร้า, ราชัน คงชุม.ปัจจัยที่มีผลต่อการจำหน่ายยาที่มิใช่ยาสามัญประจำบ้านของร้านชำในจังหวัดพัทลุง[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ตุลาคม 11] เข้าถึงได้จาก: https://ptho.moph.go.th/ptvichakarn63/uploads/54598_0204_20200817234534.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article