ผลของการใช้ยา Dolutegravir ร่วมกับยาต้านไวรัสอื่น ต่อระดับ Serum Creatinine eGFR และความชุกของความผิดปกติของไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลโพนทอง : การศึกษาย้อนหลัง
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 – ตุลาคม พ.ศ. 2566 ในกลุ่มประชากรที่รักษาด้วยยา Dolutegravir (DTG) ร่วมกับยาต้านไวรัสอื่นทั้งหมดจำนวน 256 คน นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับ SCr และ eGFR ก่อนการรับยา หลังการรับยาสัปดาห์ที่ 4 และ 52 ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA) และหาความชุกของการเกิดความผิดปกติของไตจากค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่รักษาด้วยยา DTG ร่วมกับยาต้านไวรัสอื่นที่เข้าเกณฑ์การใช้สถิติวิเคราะห์จำนวน 85 คน ระดับ SCr มีค่าเฉลี่ยก่อนการรับยามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในสัปดาห์ที่ 4 (0.16 ± 0.02) และ 52 (0.23 ± 0.18) ส่วนค่าเฉลี่ยของ eGFR ก่อนการรับยามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในสัปดาห์ที่ 4 (-12.83± 1.70) และ 52 (-21.01 ± 1.15) แต่ในกลุ่มที่รักษาด้วยยา TDF + 3TC + EFV จำนวน 49 คน และ TDF + FTC + EFV จำนวน 48 คน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับ SCr และ eGFR ความชุกของความผิดปกติของไตอยู่ในระยะไตวายเรื้อรังระดับ 3a สัปดาห์ที่ 52 จำนวน 18 คน (ร้อยละ 7.03) ระดับ 3b จำนวน 2 คน (ร้อยละ 0.78) สามารถสรุปได้ว่าการใช้ยา DTG ร่วมกับยาต้านไวรัสอื่นทำให้ระดับ eGFR เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 จึงควรติดตามการทำงานของไตอย่างต่อเนื่องในผู้ที่อยู่ในระยะไตวายเรื้อรังระดับ 3 ขึ้นไป และควรตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับโรคไตที่แสดงถึงภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มเติม
คำสำคัญ: Dolutegravir, Serum creatinine, eGFR, ภาวะไตบกพร่อง
References
UNAIDS. UNAIDS Data 2023. [Online]. 2023 [cited 2023 Oct 24]; Available from : https://www.unaids.org/en
HIV INFO HUB. Nonthaburi : Department of Disease Control Ministry of Public Health Thailand. [Online]. 2023 [cited 2023 Oct 31]; Available from : https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์.ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560 – 2573. กรุงเทพมหานคร: เอ็นซี คอนเซ็ปต์. 2560.
กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษา และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/ 2565. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2565.
Neuhaus J, Angus B, Kowalska J D , Rosa A L, Sampson J, Wentworth D, et al. Risk of all-cause mortality associated with nonfatal AIDS and serious non-AIDS events among adults infected with HIV. AIDS 2010. [Online]. 2010 [cited 2023 Oct 31]; Available from : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20177360/
Mahale P R, Patel B S, Kasmani N, Patel B. Treatment outcomes of Dolutegravir-versus Efavirenz-based highly active antiretroviral therapy regimens among treatment-naive people living with HIV. Cureus. [Online]. 2023 [cited 2023 Oct 24]; Available from : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37435267/
Lu L, Li X, Liu X, Han Y, Qiu Z, Song X, et al. Comparison of renal function biomarkers of serum creatinine and cystatin C in HIV-infected people on Dolutegravir-containing therapy. Infection and Drug Resistance. [Online]. 2022 [cited 2023 Oct 24]; Available from : https://doi.org/10.2147/IDR.S347054
Koteff J, Borland J, Chen S, Ivy Song I, Peppercorn A, Koshiba T, et al. A phase 1 study to evaluate the effect of Dolutegravir on renal function via measurement of iohexol and para-aminohippurate clearance in healthy subjects. British Journal of Clinical Pharmacology. [Online]. 2013 [cited 2023 Oct 30]; Available from : https://doi.org/10.1111/j.1365-2125.2012.04440.x
Lindeman TA, Duggan JM, Sahloff EG. Evaluation of serum creatinine changes with integrase inhibitor use in human immunodeficiency virus-1 infected adults. Open Forum Infectious Diseases. [Online]. 2016 [cited 2023 Oct 24]; Available from : https://doi.org/10.1093/ofid/ofw053
Sculier D, Wandeler G, Yerly S, Marinosci A, Stoeckle M, Bernasconi E, et al. Efficacy and safety of Dolutegravir plus Emtricitabine versus standard ART for the maintenance of HIV-1 suppression: 48-week results of the factorial, randomized, non-inferiority SIMPL’HIV trial. PLoS Med. [Online]. 2020 [cited 2023 Oct 24]; Available from : https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1003421
Wijting IE, Rokx C, Zillikens MC, Smits SA, Vries-Sluijs TD, Schurink CA, et al. Changes in renal, bone, lipid, and inflammation markers in HIV-1 patients after combination antiretroviral therapy simplification to Dolutegravir monotherapy. Int J STD AIDS. [Online]. 2019 [cited 2023 Oct 24]; Available from : https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0956462419848962
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.คำแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2565.
Palich R, Tubiana R, Abdi B, Mestari F, Guiguet M, Bismut IF, et al. Plasma cystatin C as a marker for estimated glomerular filtration rate assessment in HIV-1-infected patients treated with dolutegravir-based ART. Journal of Antimicrobial Chemotherapy. [Online]. 2018 [cited 2023 Oct 24]; Available from : https://academic.oup.com/jac/article/73/7/1935/4984487
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-09 (2)
- 2024-04-29 (1)
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว