การพัฒนาคุณภาพการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้น ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
สถานการณ์ความแออัดของโรงพยาบาลและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียโอกาสเข้าถึงการรับบริการ ดังนั้น การนําระบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลมาใช้ จึงเป็นแนวทางที่อาจทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตดีขึ้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบมาเป็นแนวทางในการพัฒนาภายใต้กระบวนการทางเภสัชกรรมในการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อศึกษาการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้น พัฒนารูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล และศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกหลังจากได้รับรูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลด้านปัญหาการใช้ยาและความพึงพอใจของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 25 แห่ง รวมทั้งสิ้น 259 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มผู้ให้บริการ จำนวน 75 คน แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล Tele VHV แบบบันทึก ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการใช้ยา ความพึงพอใจ ปัญหาการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยสามารถประหยัดได้ และแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลลัพธ์การจัดการปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาหลังจากได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกล จำนวน 2 ครั้ง พบว่าผู้ป่วยให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรและสามารถร่วมแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาได้ ร้อยละ 79.49 ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.85 ± 0.37 จากคะแนนเต็ม 5) ผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่า หลังรับบริการ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย 135 ราย จาก 162 ราย (ร้อยละ 83.33) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (152.64 ± 59.92, 140.60 ± 48.94; p<0.001) ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต Systolic BP ของผู้ป่วย 175 ราย จาก 226 ราย (ร้อยละ 77.43) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (133.61 ± 14.38, 129.79 ± 15.54; p<0.002) ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต Diastolic BP ของผู้ป่วย 115 ราย จาก 226 ราย (ร้อยละ 50.88) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (72.60 ± 9.32, 74.27 ± 10.09; p < 0.02) และค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต (eGFR) ของผู้ป่วย 109 ราย (ร้อยละ 100) ไม่แตกต่างกัน (63.36 ± 10.50, 62.85 ± 12.96) และผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 285,159 บาท สรุปการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยโรคไต ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตดีขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถชะลอการเสื่อมของไต ลดการพบปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา การบริโภคผลิตภัณฑ์อันตราย และเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ทำให้ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายและผู้ป่วยที่รับบริการมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด
คำสำคัญ: บริการเภสัชกรรมทางไกล, โรคไตเรื้อรัง
References
Coresh J, Selvin E, Stevens LA, Manzi J, Kusek JW, Eggers P, et al. Prevalence of chronic kidney disease in the United States. JAMA 2007; 298:2038-47.
Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K; the Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010; 25: 1567-75.
Ibrahim H, Mondress M, Tello A, Fan Y, Koopmeiners J, Thomas W. An alternative formula to the Cockcroft-Gault and the modification of diet in renal disease formulas in predicting GFR in individuals with type 1 diabetes. J Am Soc Nephrol 2005; 16:1051-60.
สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย. รายงานข้อมูลการปลูกถ่ายอวัยวะประจำปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: ปริ้นท์แอนด์มอร์ จำกัด; 2556.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites//default/files/ statistic%2061.pdf
Hunsicker LG, Adler S, Caggiula A, England BK, Greene T, Kusek JW, et al. Predictors of the progression of renal disease in the modification of diet in renal disease study, Kidney Int 1997; 51:1908-19.
KDIGO 2012 Clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney Inter Suppl 2013; 3:1-150.
Nephrology Society of Thailand and National Health Security Office. Clinical practice recommendation for the evaluation and management of chronic kidney disease in adults 2015. In: Office NSoTaNHS, editor. Bangkok Publishers Union Ultra Violet; 2015.
ดาราพร รุ้งพราย, ศยามล สุขขา, วีรชัย ไชยจามร, อุษณีย์ วนรรฆมณี, กมลวรรณ อ่อนละมัย, พิรดา วงษ์พิรา. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคไตสำหรับเภสัชกร. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน; 2558. 105-26.
กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ (eHealth Strategy) กระทรวงสาธารณสุข (2560 – 2569). นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. นโยบาย Thailand 4.0 มุ่งเน้นการพัฒนาที่สอดรับกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2560]. 2564. 1-148. เข้าถึงได้จาก https://www.mdes.go.th/content/download-detail/2798
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลกระทรวงสาธารณสุข (2564 – 2568) [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2560]. 2564. 1-157. เข้าถึงได้จาก https://ict.moph.go.th/upload_file/files/ 97c2287c8f04e13f81fec13e431e7a5e.pdf
คณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการ. ประเด็นการตรวจราชการที่มุ่งเน้น ประเด็นที่ 4 Digital Health (ระบบข้อมูลสุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์). 2566.
สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 56/256312 เรื่อง การกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy); 2 มิถุนายน 2563, สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม อาคารสภาวิชาชีพ ชั้น 8 กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
สุธาบดี ม่วงมี. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมต่อการชะลอไตเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังร่วมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.
สุภาพร สุปินธรรม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้ยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับบริการผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกล โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน. เภสัชกรรมคลินิก 2566; 29(1):51-64.
อุไรวรรณ พานทอง. การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังในสถานบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2561; 1(2):48-58.
จิราวัฒน์ สุวัตธิกะ. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลโดยประยุกต์ใช้ระบบหมอพร้อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ปากกาฉีดอินซูลิน อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข 2566; 1(2):122-139.
Bureau of Non-Communicable Disease. Clinical practice guideline for the operation of reducing chronic kidney disease (CKD) in patients with diabetes and hypertension. Bangkok: The Agricultural CO-operative of printing; 2017.
Tungsanga K, Lam-ong S, Lam-ong S, Praditpornsin K, Tiranathanagul K, Sitiprecha W. Chronic kidney disease. Bangkok: Text and journal publication of printing; 2011.
National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion. National chronic kidney disease fact sheet [Internet]. 2017 [cited 2017 Oct 22]. Available from: http://www.cdc.gov/diabetes/pubs/pdf/kidney_factsheet.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-09 (2)
- 2024-04-29 (1)
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว