การปลอมปนยาสเตอรอยด์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ราชัน คงชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

บทคัดย่อ

สเตอรอยด์ (Steroid) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex) เพื่อควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ในทางการแพทย์มีการสังเคราะห์สารสเตอรอยด์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น Prednisolone, Dexamethasone เพื่อใช้ในการต้านการอักเสบ ลดอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่เกิดขึ้นในร่างกายบริเวณต่างๆ โดย Prednisolone และ Dexamethasone เป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่ม Corticosteroidsหากใช้เกินขนาดหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน  จะมีผลข้างเคียงรุนแรงจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง ติดเชื้อได้ง่าย กระดูกพรุน เกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ของสารสเตอรอยด์รายละเอียดตามดังภาพที่ 1 ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ข้อ 34 ได้กำหนดให้ยาจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) ที่ได้จากธรรมชาติหรือได้จากการสังเคราะห์เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องมีการจำกัดการใช้โดยจะต้องจ่ายภายใต้ใบสั่งแพทย์เท่านั้น จากรายงานวิจัยที่ผ่านมาหลายงานวิจัยพบข้อมูลว่า มักพบการนำสารจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ ได้แก่ Dexamethasone และ Prednisolone ไปใช้ในทางที่ผิด นำไปปลอมปนในยาแผนโบราณหรือ “ผลิตภัณฑ์สมุนไพร”ตามคำนิยามใหม่ในพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 มาตรา 4  (1) เพื่อหวังผลในการรักษาอาการปวดเมื่อย ทั้งนี้การปลอมปนยาสเตอรอยด์ในผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ย่อมไม่ทราบปริมาณที่แน่นอนของสารสเตอรอยด์  การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการปลอมปนสเตอรอยด์ย่อมเกิดอันตรายต่อร่างกาย  

คำสำคัญ  สเตียรอยด์

References

พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 136, ตอนที่ 56 ก (30 เมษายน 2562).

Glucocorticoids - Endocrine. [Internet]. [cited 2024 January 1]. Available from: HYPERLINK "https://step1.medbullets.com/endocrine/109043/glucocorticoids" https://step1.medbullets.com/endocrine/109043/glucocorticoids .

อรอุมา ภู่ประเสริฐ, เพ็ญศรี เนื่องสิกขาเพียร, ลาวัลย์ ศรีพงษ์, มาลัย สถิรพันธุ์, จันคนา บูรณะโอสถ และคณะ. การตรวจหาสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและยาสมุนไพร. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 2545 พฤษภาคม - สิงหาคม ; 1(1): 7-16.

อรณี วาสนาพิตรานนท์, ภคมน สุขมากปภาวิน, สุภิตรา บุญศิริ, สุรีรัตน์ คนใหญ่, ณัฐญาดดา

ฉ่ำชื่น, เอกพจน์ จรัสแผ้ว และคณะ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปลอมปนสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. Thai Bull Pharm Sci. 2021; 16(2): 83-95.

สมฤดี บุญมี, พิมลลดา ไชยรัตน์. การปนปลอมสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและยาสมุนไพรในจังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ.2559 - 2562. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2563; 62(4): 384 - 394.

ดวงทิพย์ อรัญดร, สรียา แซ่ลิ่ม, สิรินทิพย์ วิชญวรนันท์, อภิรัฐ คล้ายสถิต และสุกัญญา เดชอดิศัย. การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ เพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซนในยาแผนโบราณในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2553 มกราคม - มิถุนายน ; 13(1): 20-30.

นันทนา กลิ่นสุนทร และปกรณ์ น้อยประเสริฐ. สารสเตียรอยด์ปนปลอมในยาแผนโบราณเขตสาธารณสุขที่ 4. วารสารแพทย์เขต 4. 2544 กรกฎาคม - กันยายน ; 20(3): 177-181.

สุภัทรา กลางประพันธ์, ศรัญญา สุทธิสา, ไอลดา บุญเย็น และนฤมล ตาลพันธุ์. การตรวจสอบการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสารธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชานี. 2564 มกราคม - มิถุนายน; 10(1): 92-100.

กาญจนา นวลชื่น. สถานการณ์การบริโภคยาน้ำสมุนไพรและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปลอมปนสเตียรอยดืของยาน้ำสมุนไพรในจังหวัดอ่างทอง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2559 พฤษภาคม - สิงหาคม ; 14(2): 153 - 164.

จริยา อัครวรัณธร, ศรัณยพร กิจไชยา. โครงการสำรวจการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ 9 จังหวัด. วารสารอาหารและยา. 2557 กันยายน - ธันวาคม ;: 64-72.

รายงานการพบผลิตภัณฑ์ยาไม่มีทะเบียน ประจำปี 2566. พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง , กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ Academic Article