การพัฒนาร้านชำจากโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จักรี แก้วคำบ้ง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • สุทธินี เรืองสุพันธุ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • ศุภธิดา วิสุทพิพัฒน์สกุล กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • สรัญญาพร รักษ์วิชานันท์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาร้านชำต้นแบบ จากโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน ของจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ โดยอาศัยความร่วมมือของผู้ประกอบการร้านชำและภาคีเครือข่าย วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้การศึกษาเชิงปฏิบัติการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน(participation action study) การเก็บข้อมูลจากร้านชำแบบจำเพาะเจาะจง(purposive sampling method)   ในปี 2563 - 2566  จำนวน  7,262, 10,693, 9,146, แห่ง ตามลำดับ การดำเนินงานมีขั้นตอน ดังนี้ 1.การวางแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย 2.การอบรมให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการร้านชำ 3.การสำรวจรายการยาที่จำหน่าย และ4.การสะท้อนข้อมูลคืนแก่ภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการขายยาที่ไม่เหมาะสมโดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบร้านชำในจังหวัดนครราชสีมา จำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่าย ในปี 2563, 2564, 2565 และ 2566 พบจำนวน 1,539 แห่ง(ร้อยละ 20.45), 1,598 แห่ง(ร้อยละ 14.94), 5,905 แห่ง(ร้อยละ 64.65), 1,463 แห่ง(ร้อยละ 44.74) ตามลำดับ โดยในปี 2566 ร้านชำ จำหน่ายยาอันตราย และยาห้ามจำหน่าย ลดลงน้อยกว่าในปี 2565 ร้อยละ 19.91 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001)  ในปี 2566 ผู้ประกอบการร้านชำ ระบุแรงจูงใจในการนำยามาจำหน่ายในร้านชำ คือ ความต้องการของชุมชน ยอดขายและกำไร ไม่ทราบกฎหมาย
ว่าเป็นยาห้ามจำหน่าย ได้รับคำแนะนำจากร้านยา มีรถขนส่งยาถึงหน้าบ้าน และอื่น ๆ ร้อยละ 89.42, 1.85 และ 6.44 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) ในปี 2566 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาร้านชำ จำนวน 908 แห่ง พบว่า ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ  66.85 เป็นร้อยละ 93.94(p<0.001) การจำหน่ายยาอันตรายและห้ามจำหน่ายหลังการอบรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 42.51 เป็นร้อยละ 18.06(p<0.001) และร้านชำต้นแบบส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้นหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ  57.49 เป็นร้อยละ 81.94(p<0.001) สรุป จากการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้เกิด “CS-KORAT Model” เพื่อแก้ไขปัญหาการจำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่าย และทำให้เกิดร้านชำต้นแบบส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

 

คำสำคัญ ยาอันตราย, ร้านชำ, ร้านชำต้นแบบ, ความร่วมมือของผู้ประกอบการ

References

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, สุพล ลิมวัฒนานนท์, เชิดชัย สุนทรภาส, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช. โครงการผลลัพธ์ต่อพฤติกรรมการสั่งยาและผู้ป่วยจากการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]; [หน้า 26-44]. เข้าถึงได้จาก : https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5181/hs2546.pdf?sequence=1&isAllowed=y

กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข; 2563.

กองสถิติสังคม. ผลสำรวจด้านอนามัยและสวัดิการ. ในสำนักงานสถิติแห่งชาติ, บรรณาธิการ. ผลสำรวจด้านอนามัยและสวัดิการ ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2562. หน้า 1-19.

สิริลักษณ์ รื่นรวย, สุรศักดิ์ เสาแก้ว. สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560;9(1):226-35

ธนพงศ์ ภูผาลี, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล, วิษณุ ยิ่งยอด, ตฤณ แสงสุวรรณ, ลัดดา อำมาตร. รูปแบบการพัฒนาร้านชำแบบชุมชนมีส่วนร่วม ต.โพนสูง จ.สกลนคร. วารสารอาหารและยา 2557;21(3):57-63

ปัทมาพร ปัทมาสราวุธ, รุ่งทิวา หมื่นปา. การพัฒนาร้านชำต้นแบบจากโครงการประชารัฐร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563;12(3): 01-11

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://faire.fda.moph.go.th/AESRCH/?Token=HiqdofwzDebA8C3XNu7ASwUU

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article