การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ธฤตวัน พระพิจิตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
  • ปริญญา สกุลพอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ เพื่อหารูปแบบการเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านชำ 216 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบฟอร์มเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน รูปแบบ โดยใช้สถิติเชิงพรรณา

           ผลการศึกษา ได้รูปแบบการเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้แบบฟอร์มที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบ

           สรุปผลและข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบเฝ้าระวังฯ ทั้ง 4 ขั้นตอน สามารถแก้ปัญหาการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมได้ภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยรูปแบบการเฝ้าระวังฯ เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และจำหน่ายยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คำสำคัญ: รูปแบบ การเฝ้าระวัง การกระจายยาที่ไม่เหมาะสม ร้านชำ

 

 

 

 

 

 

References

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข).[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER023/GENERAL/DATA0000/00000077.PDF.

จันทร์จรีย์ ดอกบัว, รัตนาภรณ์ ขันติมัง, หทัยรัตน์ พุกสอาด, ณัฐพร สู่หนองบัว. สถานการณ์การจำหน่ายยาในร้านขายของชำ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ออนไลน์). 2564; 1(1):37-44.

อัญชลี ชมภู, สุรสิทธิ์ สุรินทร์. โครงการการดำเนินงานเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายในร้านค้าชำของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลแม่สะเรียง. วารสารอาหารและยา. 2558; 22(1):45-50.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2510/A/101/7.PDF.

อัจฉรีย์ สีหา, วรรณภา ศักดิ์ศิริ. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในร้านชำเขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565; 15(1):304-17.

ประกาย จิโรจน์กุล, บรรณาธิการ. การวิจัยทางการพยาบาล : แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2548.

อัปสร บุญยัง, รุ่งทิวา หมื่นปา. ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัดพิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562; 11(1):105-18.

วราภรณ์ สังข์ทอง. ความชุกของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และปัจจัยที่ทำให้เกิดการจำหน่าย. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561; 7(1):38-46.

ธีระยุทธ นาคฤทธิ์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ออนไลน์). 2566; 3(1):163-75.

จินดาพร อุปถัมภ์, คณัฐวุฒิ หลวงเทพ, สิรีธร บัวขจร. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ออนไลน์). 2564; 3(1):70-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article