ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการ “ร้านยารูปแบบใหม่ Common Illness” ของร้านขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ร้านยารูปแบบใหม่ Common Illness, ร้านขายยา, ปัจจัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสนใจและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการ“ร้านยารูปแบบใหม่ COMMON ILLNESS” ของร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ Google form สอบถามผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 266 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับอนุญาตฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 4 คน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับอนุญาตฯ มีการตอบกลับมา (ร้อยละ 87.60) อายุเฉลี่ยเท่ากับ 43.99 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี 6 ปี (ร้อยละ 74.68) ประสบการณ์ในการทำร้านขายยาเฉลี่ยเท่ากับ 10.29 ปี ส่วนใหญ่เป็นร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป (ไม่ใช่ร้านยาคุณภาพ) (ร้อยละ 94.85) มีลักษณะเป็นร้านขายยาเดี่ยว (ร้อยละ 90.13) ได้รับใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉลี่ยเท่ากับ 11.93 ปี จำนวนเภสัชกรและพนักงานประจำทั้งหมดในร้านขายยามี 1 คน (ร้อยละ 42.06) รู้จักโครงการฯ (ร้อยละ 51.07) โดยรู้จักผ่านสภาเภสัชกรรมร้อยละ 100 และส่วนใหญ่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความสนใจเท่ากับ 2.94 คะแนน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการฯ ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ พบว่าตัวแปรอิสระร่วมกันอธิบายระดับความสนใจในการเข้าร่วมโครงการฯ ได้ร้อยละ 89.3 (R2 = 0.893) โดยตัวแปรความจำเป็นในการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถอธิบายความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการสัมภาษณ์พบว่า ขั้นตอนและระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องมีความยุ่งยากและมีภาระงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างและเผยแพร่นโยบายการปฏิบัติให้ เป็นรูปธรรม พร้อมสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเพิ่มขึ้น
References
สำนักงานรับรองร้านยาคุณภาพ สภาเภสัชกรรม. ความเป็นมาของร้านยาคุณภาพ [อินเตอร์เน็ต].
นนทบุรี: สำนักงานรับรองร้านยาคุณภาพ สภาเภสัชกรรม; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://papc.pharmacycouncil.org/index.php?option=aboutus&subpage=history
ณัฐชลภัณ หอมแก้ว. บทบาท ‘เภสัชกร-ร้านขายยา’ เชิงรุก ‘ด่านหน้า’ สร้างสุขภาพ - ลดแออัด รพ.ในฐานะหน่วยบริการ ‘ปฐมภูมิ’ ผู้ป่วยบัตรทอง ‘16 กลุ่มอาการ’ รับยาฟรี [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: The Coverage; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thecoverage.info/news/content/4278
สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สปสช.-สภาเภสัชกรรมเพิ่มบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิ “เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ” รับยาที่ร้านยาได้ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/ content/2022/10/26304
THE REPORTERS. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เผยข้อมูล “รับยาที่ร้านยา” ใน 16 กลุ่มอาการเล็กน้อย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: THE REPORTERS; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thereporters.co/tw-health/1412221152/
กองยา. สถิติใบอนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยา ประจำปี พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองยา; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://drug.fda.moph.go.th/statistical-data/category/statistics
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายชื่อร้านยาดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ผู้มีสิทธิ
บัตรทองรับยาที่ร้านได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/downloads/204
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานประจำปี 2565 [อินเตอร์เน็ต].
พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ayo.moph.go.th/main/index.php?mod=Blocks&bid=pSIwrbOYWxu
วิเชียน วิทยอุดม. การจัดการสมัยใหม่ Modern management. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนวัช การพิมพ์ จำกัด; 2554.
พงษ์ณุวัฒน์ สมบัติภูธร. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพร้านยา ของร้านยาที่ผ่านการตรวจ GPP ในจังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
วารี สุทักษิณา.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อยาในร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร [บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
กุลธิดา เปรมปราคิน. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อยารักษาโรคในร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว