การพัฒนาระบบงานคลังบริหารเวชภัณฑ์ยา โรงพยาบาลบ้านฉางให้มีมาตรฐานและปลอดภัย
คำสำคัญ:
ระบบงานคลังบริหารเวชภัณฑ์ยา, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบงานคลังบริหารเวชภัณฑ์ยาของโรงพยาบาลให้มีมาตรฐานและปลอดภัย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลการจัดซื้อยาในปีงบประมาณ 2566 โดยนำมาจัดกลุ่มยาตามวิธี ABC analysis แบ่งกลุ่มยาตามมูลค่าต้นทุนของยา และ VEN analysis แบ่งกลุ่มยาตามความสำคัญและความจำเป็นของยา จากนั้นใช้วิธีวิเคราะห์ ABC-VEN matrix สร้างตารางความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบเมตริกซ์ แบ่งกลุ่มยาออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 หมวดที่ 2 และหมวดที่ 3 เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ คือ โปรแกรม Microsoft Excel วิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ยากลุ่ม A มีมูลค่าต้นทุนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 79.91 แต่มีจำนวนรายการยาคิดเป็นร้อยละ 20.99 ยากลุ่ม B มีมูลค่าต้นทุนปานกลางคิดเป็นร้อยละ 15.03 มีจำนวนรายการยาคิดเป็นร้อยละ 24.76 ในขณะที่ยากลุ่ม C มีมูลค่าต้นทุนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.06 แต่มีจำนวนรายการยาสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 54.25 ยากลุ่ม V มีจำนวนรายการยาน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 8.73 มีมูลค่าต้นทุนคิดเป็นร้อยละ 7.54 กลุ่ม E มีจำนวนรายการยามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.89 มีมูลค่าต้นทุนสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 90.08 และกลุ่ม N มีจำนวนรายการยา คิดเป็นร้อยละ 10.38 มีมูลค่าต้นทุนน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 2.38 และเมื่อวิเคราะห์ตามแบบวิธี ABC-VEN matrix พบว่า ยากลุ่ม AV, AE, BV, BE, CV และ CE ต้องให้ความสำคัญ เอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีการสำรองยาที่เหมาะสม ไม่ขาดแคลน และเมื่อนำข้อมูลยาในกลุ่ม CN และ AN เสนอให้คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดพิจารณา โดยมติที่ประชุมพิจารณาตัดรายการยากลุ่ม CN ออกจากเภสัชตำรับของโรงพยาบาล 10 รายการและกำหนดแนวทางควบคุมการสั่งใช้ยากลุ่ม AN ให้เหมาะสม นอกจากนี้ ยังนำมาใช้ในการจัดทำแผนการจัดซื้อที่รัดกุม สำรองยาที่เหมาะสม และออกแบบกระบวนการตรวจสอบคลังยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบงานคลังบริหารเวชภัณฑ์ยาให้มีมาตรฐานและปลอดภัย
References
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท ก.การพิมพ์เทียนกวง จำกัด; 2565; 119-131.
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล พ.ศ.2561 - 2565. กรุงเทพ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล; 2561; 1-23.
บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข, กิตติยศ ยศสมบัติ. การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ ABC-VED ในการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2561.[เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.ccpe.pharmacycouncil.org/
Dursa E, Arslan M. ABC, VED, and ABC-VED Matrix Analyses for Inventory Management in Community Pharmacies: A Case Study. FABAD J. Pharm. Sci. 2022; 47(3):293-300.
ปิยาณี อ่อนเอี่ยม. การจัดการคลังยาด้วย ABC-VEN เมตริกซ์ของสถาบันราชประชาสมาสัย. วารสาร มฉก.วิชาการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2567];25(2):258-272. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/252401/171387
บุญเย็น หนูเล็ก. การศึกษาการจัดกลุ่มรายการยาโดยใช้การวิเคราะห์แบบ ABC-VEN matrix ในโรงพยาบาลตราด. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.trathospital.go.th/KM/casestudy.php
ปิยวรรณ จันทรสวัสดิ์. การนำ ABC-VEN Matrix Analysis มาใช้วางแผนจัดซื้อยาเพื่อแก้ปัญหาอัตราสำรองคลังเกินเกณฑ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.thanyahos.go.th/wp-content/uploads/2024/08/ผลงาน-ABC-VEN-Matrix-Analysis-ใช้อัพโหลดขึ้นเวบไซต์.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว