ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในการสอบครั้งแรกของบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบหาความสัมพันธ์ (Correlational Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 20 ปีการศึกษา 2561 ของมหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ที่สอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจำนวน 121 คน โดยใช้สูตรของ Krejcie & Morgan ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีการจับฉลากการสุ่มแบบไม่ใส่คืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) การเตรียมตัวก่อนสอบของบัณฑิต 3) การช่วยเหลือจากอาจารย์และมหาวิทยาลัย และ 4) ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยอื่น ๆที่มีผลต่อการสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.51 – 3.00 มากที่สุด ร้อยละ 48.8 ใช้ระยะเวลาในการเตรียมตัว 1 เดือน ร้อยละ 60 สอบรวบยอดผ่าน 7 วิชา ร้อยละ 21.5การเตรียมตัวอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.1 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากอาจารย์และมหาวิทยาลัยเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 59.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯในการสอบครั้งแรกของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชธานี ได้แก่ เกรดเฉลี่ย และผลการสอบรวบยอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.49, r = 0.39) ส่วนการเตรียมตัวก่อนสอบของบัณฑิต การจัดการเรียนการสอนบัณฑิต และความช่วยเหลือจากอาจารย์และมหาวิทยาลัย ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งครั้งแรก (r = 0.137, p > 0.05), (r = - 0.072, p > 0.05), (r = 0.012, p > 0.05)
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยราชธานี บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดขึ้น จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
นุจรินทร์ โพธารส. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล และการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีส-เทิร์นเอเชีย.
ประไพจิตร โสมพร. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบประเมินความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ปีการศึกษา 2545 ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ.
พรจันทร์ สุวรรณชาต. (2550). เอกสารประกอบการสัมมนากรรมการสภาการพยาบาลและผู้แทนสภาการพยาบาล: บทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคและสมาชิกองค์กร วันที่ 29 - 30 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพมหานคร
มาโนช เกษกมล.(2543). การปฏิรูปการจัดการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : สถาบันพระบรมราชชนก.
วิเชียร เกตุสิงห์. (ม.ป.ป). สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัย. กองวิจัยการศึกษา สํานักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สภาการพยาบาล. (2540). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2)
สภาการพยาบาล. (2541). กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ นนทบุรี :เดอะเบสท์กราฟฟิคแอนด์ปรินท์
สภาการพยาบาล. (2551). คู่มือการจัดสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2551. นนทบุรี.
สายสวาท เผ่าพงษ์ และคณะ .(2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบประเมินความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
สุวิมล มณีโชติ และปัทมา แคนยุกต์.(2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสําเร็จในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ของผู้สําเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.
โสภา ศิริวัฒนกุล ราตรี อร่ามศิลป์ ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล และคนึงนิตย์ พงษ์สิทธิภาวร. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของผู้สําเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี.
อุษณีย์ เทพวรชัย นิชดา สารถวัลย์แพศย์ และศรีวรรณ มีบุญ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.