รูปแบบการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน

Main Article Content

เตือนใจ ภูสระแก้ว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาแบบ Case–Control Study เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน เก็บข้อมูลกับผู้ป่วยเบาหวานนอนโรงพยาบาลและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 360 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่า OR (Odds Ratio) และช่วงความเชื่อมั่น 95% Confidence Interval ของ OR โดยการใช้สถิติ Multiple Logistic Regression สำหรับการวิจัยระยะที่ 2 เป็นการนำปัจจัยเสี่ยงที่ได้ในระยะที่ 1 มาสร้างแบบคัดกรองในครั้งนี้ โดยเก็บข้อมูลกับผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ตึกผู้ป่วยนอก จำนวน 1,200 คน และมีการติดตามกลุ่มตัวอย่างทุกคนว่าเกิดเหตุการณ์ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและนอนโรงพยาบาลหรือไม่ เป็นเวลา 10 เดือน ตรวจสอบคุณสมบัติของแบบคัดกรอง โดยพิจารณาค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC และ95 % CI     หาค่า cut off point ที่เหมาะสม ค่าความไว (Sensitivity) ความจำเพาะ (Specificity) ประสิทธิภาพ(Accuracy of test) ของแบบคัดกรอง การประเมินค่าพยากรณ์(Predictive value) และค่า Likelihood Ratio โดยมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็น Gold standard


          ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานที่นอนโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับยาเบาหวานชนิดฉีด (OR=20.75; 95%CI=4.71-91.41) การไม่พกน้ำตาล ลูกอม หรือขนมหวานไว้ติดตัวเป็นประจำทุกครั้ง (OR=13.89;95%CI=1.92-100.31) การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่บ้านอย่างน้อยหนึ่งครั้งใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา(OR=8.83;95%CI=2.58-30.20) การเคยเพิ่มหรือลดขนาดของยาเบาหวานด้วยตนเอง(OR=6.62;95%CI=1.30-33.70) และการไม่มีความรู้ความเข้าใจในอาการและอาการแสดงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (OR=7.97;95%CI=1.97-32.22) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Diabetes Mellitus, 2014, 4, 165-171 สำหรับผลการวิจัยระยะที่ 2 ได้แบบคัดกรองความเสี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและกำหนดน้ำหนักค่าคะแนนความเสี่ยงของแต่ละตัวแปรโดยการใช้ค่าสัมประสิทธิ์เบต้า ผลของค่าคะแนนความเสี่ยงรวมแต่ละคนอยู่ระหว่าง 0 ถึง 12 คะแนน จากการประเมินค่าพื้นที่ใต้กราฟ ROC พบว่า ค่า AUC เท่ากับ 0.814 (95 % CI=0.783-0.846) ซึ่งอยู่ในระดับดี และพบว่า จุดตัดที่ 5 เป็นจุดตัดที่เหมาะสมในการประเมินเกณฑ์คะแนนความเสี่ยง ซึ่งให้ค่าความไว(sensitivity) เท่ากับ 82.1% (95%CI=0.74-0.91) ความจำเพาะ (specificity) เท่ากับ 75.9 %(95%CI=0.74-0.77) โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อผลเป็นบวก (PPV) เท่ากับ 43.8 % (95%CI=0.41-0.47) และโอกาสไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อผลเป็นลบ (NPV) เท่ากับ 94.8% (95%CI=0.94-0.95) และค่า Likelihood Ratio Positive (LR +) เท่ากับ 3.41 และค่าความถูกต้องของแบบคัดความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Accuracy of test) เท่ากับ 77.1%   

Article Details

How to Cite
ภูสระแก้ว เ. (2019). รูปแบบการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน. ราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 12–25. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JRIHS/article/view/213345
บท
บทความวิจัย

References

โรงพยาบาลยางตลาด. (2554). รายงานทะเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลยางตลาด ณ ปีงบประมาณ 2551- 2554.

วิชัย เอกพลากร. (2548). รายงานการศึกษาพัฒนาดัชนีความเสี่ยงต่อเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2549). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. สืบค้นจาก http://epid.go.th/weekly/w_2550/menu_wesr50html.

สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2550). รายงานการเฝ้าระวังทาระบาดวิทยา สืบค้นจาก http://203.157.10.15/mophupload/document/5.โรค.
Altus, I.D. (2010). Deaths attributable to diabetes mellitus (DM). Retrieved from http://atlas.idf-bxl.org/content/deaths-attributable-diabetes-dm-2010.

Leckie, A.M., Graham, M.K., Grant, J.B., Ritchie, P.J., & Frier, B.M. (2005). Frequency, severity, and morbidity of hypoglycemia occurring in the workplace in people with insulin-treated diabetes. Diabetes Care, 28(6), 1333-8.

Lindstrom, J. & Tuomilehto, J. (2003). The diabetes risk score. Diabetes Care, 26(3), 725-31.

Metz, C.E. (1978). Basic Principle ROC Analysis. Seminars in Nuclear Medicine, 8(4), 283-98.

Poosakaew, T., Kessamboon., P. & Smith, J.F. (2014). Risk Factors for Hospitalization Due to Hypoglycemia in Diabetic Patients in Northeast Thailand. Journal of Diabetes Mellitus, 4, 165–171.

Ramachandran, A.F., Snehalatha, C., Snehalatha, C.F., Vijay, V., Vijay, V.F., Wareham, N.J, et.al. (2005). Derivation and validation of diabetes risk score for urban Asian Indians. Diabetes Research and Clinical Practice, 63–70.

Turchin, A., Matheny, M.E., Shubina, M., Scanlon, J.V., Greenwood, B.,& Pendergrass, M.L. (2009). Hypoglycemia and clinical outcomes in patients with diabetes hospitalized in the general ward. Diabetes Care, 32(7), 1153-7.