นโยบายวารสาร

                         วารสารการป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทยมี วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยการฆ่าตัวตายในประเด็นด้านส่งเสริม ป้องกันเฝ้าระวัง การบำบัดรักษา ฟื้นฟู รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางสังคม จิตวิทยา ชีววิทยา ในประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้ นักวิจัย นักวิชาการ ส่งผลงานเข้าพิจารณาเพื่อตีพิมพ์บทความฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เริ่มรับบทความตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป 

สาขาที่รับตีพิมพ์

บทความด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ที่เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตาย / ผลงานวิจัยการฆ่าตัวตายในประเด็นด้านส่งเสริม ป้องกันเฝ้าระวัง การบำบัดรักษา ฟื้นฟู รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางสังคม จิตวิทยา ชีววิทยา

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์  แบ่งเป็น  6 ชนิด  ได้แก่

  1. บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความซึ่งวิเคราะห์ผลงานทางการแพทย์หรือสุขภาพจิตหรืออาจเป็นข้อคิดเห็นเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ  
  2. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) เป็นบทความรายงานผลการวิจัยโดยยังไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับใดมาก่อน  บทความที่เป็นรายงานการวิจัย

  3. บทความฟื้นฟูวิชาการ (Review article) เป็นบทความจากการรวบรวมวิเคราะห์สังเคราะห์ผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเรื่องนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน
  4. รายงานเบื้องต้น (Preliminary report) หรือรายงานสังเขป (short communication)  เป็นการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์  แต่ต้องมีการศึกษาต่อเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหรือศึกษาเสร็จแล้วกำลังเตรียมต้นฉบับซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับนิพนธ์ต้นฉบับ  หรือบทความฟื้นฟูวิชาการ
  5. รายงานผู้ป่วย (Case report) เป็นรายงานเกี่ยวกับกรณีศึกษาผู้ป่วยที่สนใจ  ไม่เคยมีรายงานมาก่อนหรือมีรายงานน้อยราย  ชื่อเรื่องควรต่อท้ายด้วย : รายงานผู้ป่วย…...ราย (Case report)  เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นรายงานผู้ป่วย  ถ้าแสดงรูปภาพต้องเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ และได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้รับผิดชอบ 
  6. ปกิณกะ (Miscellany) เป็นบทความที่ไม่สามารถจัดเข้าในประเภท  1  ถึง  5  ได้

กำหนดออก

รายหกเดือน  (ปีละ 2 ฉบับ : มกราคม-มิถุนายน, กรกฎาคม-ธันวาคม)

วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์  ห้ามพิมพ์ซ้ำหรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

กระบวนการพิจารณาบทความ

*บทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย  2  ท่าน / 1 บทความ* บทความวิชาการและวิจัยทุกเรื่องได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เขียน จากภายในและภายนอกสถาบัน จำนวน 2 ท่าน โดยแต่ละบทความจะต้องได้รับการพิจารณาให้ลงตีพิมพ์เป็นเอกฉันท์ และปกปิดรายชื่อผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ

ภาษาที่รับตีพิมพ์  รับบทความทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ประวัติวารสาร

                 โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ได้รับมอบหมายจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ดูแลด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายของประเทศไทย และเริ่มเป็นศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ มาตั้งแต่ ปี 2548 - ปัจจุบัน โดยมีการส่งเสริมให้เครือข่ายทั้่วประเทศได้ผลิตและจัดทำ องค์ความรู้และนวัตกรรมอย่่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีการ เริ่มจัดทำวารสารทางวิชาการทางการแพทย์ ในประเด็น การป้องกันการฆ่าตัวตาย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 อย่างเป็นทางการ เพื่อให้เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคลกรสาธารณสุข โดยบรรณาธิการในยุคบุกเบิกคนแรกคือ นายแพทย์ ณสมพล หาญดี หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนา โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์และได้ตั้งชื่อวารสารว่า “วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายในประเทศไทย” เป็นวารสารของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยออกปีละ 2 ฉบับ ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยการฆ่าตัวตายในประเด็นด้านส่งเสริม ป้องกันเฝ้าระวัง การบำบัดรักษา ฟื้นฟู รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางสังคม จิตวิทยา ชีววิทยา ในประเทศไทย กองบรรณาธิการได้พยายามพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพวารสารมาโดยตลอด เรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพวารสารอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่วารสารกลุ่มที่ 1 ในฐานข้อมูล TCI ต่อไป

ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่   ฟรี

ข้อมูลลิขสิทธิ์ต่างๆ 

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์