ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย  จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย  การฆ่าตัวตายในประเด็นด้านการส่งเสริมป้องกัน  เฝ้าระวัง  บำบัดรักษา  ฟื้นฟู  รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางสังคม  จิตวิทยา  ชีววิทยา   ในประเทศไทย

บทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณา  จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในที่ใดมาก่อน  หรืออยู่ในระหว่างการรอตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ  ซึ่งผู้นิพนธ์จะต้องแนบใบนำส่ง (ตัวอย่างท้ายเล่ม) พร้อมเอกสารรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แนบมาด้วย 

บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจทานต้นฉบับจากคณะกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ  อย่างน้อย 2 ท่าน บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์ แบ่งเป็น 6 ชนิด ได้แก่

1.บทความพิเศษ (Special article)

          เป็นบทความซึ่งวิเคราะห์ผลงานทางการแพทย์หรือสุขภาพจิต เพื่อความก้าวหน้าทางวิขาการ โดยผู้เขียนเป็นผู้มีประสบการณ์และแสดงความคิดเห็นในทางใดทางหนึ่งในเรื่องนั้น มีส่วนประกอบสำคัญดังนี้ ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) เนื้อเรื่อง (Text) สรุป (Conclusion) และเอกสารอ้างอิง (References)   

2.นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)

          เป็นบทความรายงานผลการวิจัยโดยยังไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับใดมาก่อนประกอบด้วย ชื่อเรื่อง (Title)        ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Key word) บทนำ (Introduction)           วัสดุและวิธีการ (Material and methods) และการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ผล (Results) ตารางหรือภาพ  บทวิจารณ์ (Discussion) สรุป (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) และเอกสารอ้างอิง (References) 

3.บทความปริทัศน์ (Review article)                                                                                                                                                 

          เป็นบทความที่ผู้เขียนนำผลงานวิจัยมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบแล้วสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อ่าน   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันประกอบด้วย ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author&by-line) บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Key word) บทนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Text) บทวิจารณ์ (Discussion) สรุป (Conclusion) และเอกสารอ้างอิง (References)

4.รายงานเบื้องต้น (Preliminary report)                                                                                                                                                        

          หรือรายงานสังเขป (short communication) เป็นการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์      แต่ต้องมีการศึกษาต่อเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหรือศึกษาเสร็จแล้วกำลังเตรียมต้นฉบับซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับนิพนธ์ต้นฉบับ หรือบทความปริทัศน์

5.รายงานผู้ป่วย (Case report)

          เป็นรายงานเกี่ยวกับกรณีศึกษาผู้ป่วยที่สนใจไม่เคยมีรายงานมาก่อนหรือมีรายงานน้อยราย ชื่อเรื่องควรต่อท้ายด้วย : รายงานผู้ป่วย…...ราย (Case report) เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นรายงานผู้ป่วย ถ้าแสดงรูปภาพต้องเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ และได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้รับผิดชอบประกอบด้วย ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด              (Author & by-line) บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Key word) บทนำ (Introduction) รายงานผู้ป่วย               (Report of case [s]) ซึ่งบอกลักษณะอาการของผู้ป่วย ผลการตรวจ (Finding) การรักษาและผลจากการรักษาบำบัด      บทวิจารณ์ (Discussion) สรุป (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) และเอกสารอ้างอิง (References)

 6.ปกิณกะ (Miscellany)

          เป็นบทความทั่วไปที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตและสาธารณสุขประกอบด้วย ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) เนื้อเรื่อง (Text) สรุป (Conclusion) และเอกสารอ้างอิง (References)

การเตรียมต้นฉบับ

          1.พิมพ์ใบนำส่ง (ตัวอย่างแนบท้ายเล่ม) แยกออกจากเนื้อหา  ประกอบด้วย  ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้นิพนธ์  ตัวย่อวุฒิการศึกษาสูงสุด  หน่วยงานของผู้นิพนธ์ทุกคนโดยเขียนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ  และให้ระบุ  ชื่อ  ที่อยู่   และหมายเลขโทรศัพท์  พร้อม e-mail address ของผู้นิพนธ์ที่รับผิดชอบในการติดต่อกับกองบรรณาธิการ (corresponding author)

2.ต้นฉบับ  พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษขนาด  A4  ห่างจากขอบทุกด้าน  1  นิ้ว (2.5  ซม.)  มีเลขกำกับทุกแผ่น

ที่มุมขวา  พิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม Word Processor for Window  โดยใช้  Font  ขนาด  16  ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น  double space  ต้นฉบับแต่ละเรื่องไม่ควรเกิน 15 หน้ากระดาษ A4 (ไม่นับใบนำส่ง) วัน  เดือน  ปี 

ในเนื้อหาและตัวเลขทั้งหมดให้ใช้เลขอารบิกและใส่เลขหน้าทุกแผ่น

4.ภาษา  ให้ใช้  2  ภาษา  คือ  ภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ  ถ้าต้นฉบับเป็นภาษาไทยควรใช้ศัพท์ภาษาไทย

ให้มากที่สุด  โดยใช้พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์   ฉบับราชบัณฑิตยสถาน   ร่วมกับศัพท์จิตเวชของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย  ฉบับพิมพ์ครั้งที่  2 (พ.ศ. 2560)  เป็นบรรทัดฐาน   สำหรับคำศัพท์แพทย์ภาษาอังกฤษ  ที่ไม่มีคำแปลในพจนานุกรมฯ  และในหนังสือศัพท์จิตเวช  อนุโลมให้ใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้  โดยภาษาอังกฤษที่ปนอยู่ในเนื้อเรื่องภาษาไทยให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด  ยกเว้นชื่อเฉพาะซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ 

ขั้นตอนการส่งต้นฉบับ

ส่งบทความได้ตลอดปี  ตามวิธีต่อไปนี้

1.ไฟล์ต้นฉบับในรูปแบบ doc/docx

2.แบบฟอร์มส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย  ในรูปแบบ pdf.

3.ข้อมูลผู้นิพนธ์ในรูปแบบ doc/docx

4.หากเป็นการทดลองในมนุษย์ให้สแกนเอกสารรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์แนบส่งด้วย

เอกสารสำหรับผู้ส่งบทความ

>> 1. กด download คู่มือการส่งผลงานเข้ารับการพิจารณา

>> 2. กด download template การเขียนบทความ 

>> 3. กด download แบบฟร์อมส่งบทความตีพิมพ์ในวารสาร

>> 4. กด download แบบฟร์อมหนังสือรับรองการส่งบทความ/ผลงานวิจัย

>> 5. กด download คู่มือการส่งบทความเข้าสู่ระบบ ThaiJo

ส่งไฟล์ข้อมูลทั้งหมดมายัง e-mail address :  journal.sui.th@gmail.com