ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย ที่มารับบริการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน โรงพยาบาลชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ศิลา จิรวิกรานต์กุล พ.บ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มารับบริกำร ส่องกล้องทำงเดินอาหารส่วนบน โรงพยาบาลชำนิ
วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนโรงพยาบาลชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียด (ST-5) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) เก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือน พฤศจิกายน 2562 จากโปรแกรม HosXP ของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยด้วยสถิติเชิงบรรยายจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อาชีพ การศึกษา และการมีโรคประจำตัว กับระดับความเครียดและระดับภาวะซึมเศร้า ด้วย Chi-Square หาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ กับความเครียด และภาวะซึมเศร้ำด้วย Pearson Correlation
ผล: จำกการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.30 ปี มีอาชีพทำนา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาระดับประถมศึกษา และมีโรคประจำตัว คิดเป็น ร้อยละ 90.00, 86.00 และ22.00 ตามลำดับ โรคประจำตัวที่พบส่วนใหญ่เป็นโรคหอบหืด ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้า พบว่าอายุมีความสัมพันธ์เชิงลบ ในระดับน้อยมาก อย่างไม่มีนัยสำคัญทำงสถิติ (r=-0.10, p value=0.48 และ r= -0.09, p value = 0.54)
สรุป: ผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องทางเดินอำหารส่วนบนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โรคประจำตัวที่พบ ส่วนใหญ่คือโรคหอบหืด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องที่มีอายุ อยู่ในกลุ่มช่วงวัยทำงาน จะมีความเครียดและภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มช่วงวัยผู้สูงอายุ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

จิรนุช จิตรำทร. ควำมเครียด. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกรำคม 2563]. จ ำ ก : h t t p s : / / m e d . m a h i d o l . a c . t h / r a m a m e n t a l / g e n e r a l k n o w l e d g e / general/05142014-1901.

นิสริน วิไลวรรณ และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. ป ั จ จั ย คั ด ส ร ร ที่ สั ม พั น ธ ์ กั บ คุ ณ ภ ำ พ ชี วิ ต ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน. วารสารพยาบาล ตำรวจ. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 6 มกรำคม 2563 ];1:349-359. จำก:https:// www.schoolandcollegelistings.com.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดควำมเครียด (ST-5).แนวทำงกำรใช้เครื่อง มือด ้ำนสุขภ ำพจิต สำหรับบุคลำกรสำธำรณสุข ในโรงพยำบำล ชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง). นนทบุรี: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์กำรเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558:9-10.

สุวรรณำ อรุณพงค์ไพศำล. แบบคัดกรอง โรคซึมเศร้ำ 2 คำถาม (2Q). แนวทำงกำร ใช้เครื่องมือด้ำนสุขภำพจิตสำหรับบุคลำกร สำธำรณสุข ในโรงพยำบำลชุมชน (คลินิก โรคเรื้อรัง). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ กำรเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำกัด ; 2558:11-12.

ธรณินทร์ กองสุข. แบบประเมินโรคซึมเศร้ำ 9 คำถาม (9Q). แนวทำงกำรใช้เครื่องมือ ด้ำนสุขภำพจิตสำหรับบุคลำกรสำธำรณสุข ในโรงพยำบำลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด; 2558:13-14.

Hongsrisuwan N. Depression.HCU. Journal. [Internet]. 2016 [cited 2020 Jan 6];1:105-118. Available from:http://journal.hcu.ac.th/pdffile.

Taechakijkosol R. Stress and Coping in the Rehabilitation Stroke Patient at Siriraj Hospital. Bangkok: Silpakorn University; 2013.

Mepak K. and Monlimsilp N. Study of stress and stress management in d i a b e t i c p a t i e n t s . B a n c h a n a c h a i primary care unit, Thasilasubdistrict, Songdaodistrict, SakonNakhon Province [Thesis]. SakonNakhon: SakonNakhon Provincial Health Office; 2003.