การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของ นักศึกษาในวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์

Main Article Content

ประนอม ภู่ศรีทอง
วรพรรณ ผดุงโยธี

Abstract

บทคัดย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ จำนวน 175 ราย โดยการเน้นให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของเนื้อหาวิชาร่วมกับการสะท้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในชั้นเรียนภายหลังสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมง โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ในเนื้อหาหลักของวิชาก่อนเรียนและหลังสิ้นสุดการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาขณะเรียน และ แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีคะแนนความรู้ในเนื้อหาหลักของวิชาหลังได้รับการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้มากกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษาทุกราย (ร้อยละ 100) ลงชื่อเข้าเรียนด้วยตนเอง ขาดเรียนเฉลี่ย 4 ราย/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 2.28 เข้าเรียนสายมากกว่า 5 นาที เฉลี่ย 12 ราย/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.85 มีการพูดคุยกันเองและทำงานอื่นระหว่างเรียนบ้าง เฉลี่ย 11 ราย/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.25 นักศึกษาประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับสูงทุกหัวข้อ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของเนื้อหาวิชาร่วมกับการสะท้อนกลับ ทำให้นักศึกษาพยาบาลสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีพฤติกรรมการเรียนที่ดี และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ได้

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน ศักยภาพการเรียนรู้ การพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract:

The objective of this study was to evaluate the teaching-learning methods for enhancing learning potential in 175 baccalaureate nursing students in a maternalnewborn and midwifery course. The teaching-learning methods included highlighting the importance of theoretical contents and reflection on the students’ learning behavior, which were conducted after class for 5-10 minutes. Research instruments were 1) the achievement test for pre-test and post-test, 2) the observation record of nursing students’ behaviors in classroom, and 3) the evaluation form of learning-teaching management at the end of the course. The result revealed that the post-test score was significantly higher than that at the pre-test. For learning behaviors, all of them (100%) showed their responsibility to sign their name to attend the class by themselves. Four students per class (2.28%) missed the class and 12 students per class (6.85%) attended the class later than 5 minutes. Eleven students per class (6.25%) did other jobs during the class. Students evaluated the course with the high level of scores for every item in the evaluation form of learning-teaching management at the end of the course. In summary, enhancing learning potential with the intention of the instructor could help nursing students to improve their learning achievement and behavior in the class and can be used as a tool for learning enhancement.


Keywords: Teaching-learning methods, Enhancing learning potential, Maternal-newborn and midwifery, Nursing students

Article Details

How to Cite
1.
ภู่ศรีทอง ป, ผดุงโยธี ว. การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของ นักศึกษาในวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jan. 17 [cited 2024 Nov. 26];19(2):235-48. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/15588
Section
บทความวิจัย