การพัฒนาการเต้นท่าโขน: ผลต่อ Ankle Brachial Index ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยชนิดหนึ่งกลุ่มวัดสองครั้งเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการออกกำลังกายโดยการเต้นท่าโขนเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่ขาในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ศึกษาการยอมรับได้ของวิธีการออกกำลังกาย และทดสอบผลการเปลี่ยนแปลงค่า ABI ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลพุทธมณฑล และโรงพยาบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2556 ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 18 ราย อายุ 45 ถึง 57 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ นาฬิกาจับอัตราการเต้นหัวใจ เครื่อง Vascular screening และวิดีโอสาธิตการออกกำลังกายโดยการเต้นท่าโขน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายโดยการเต้นท่าโขนเป็นวิธีการที่ยอมรับได้ คะแนนเฉลี่ย ABI หลังออกกำลังกายโดยการเต้นท่าโขนทันที (นาทีที่ 3) มีค่าลดลงต่ำกว่าก่อนออกกำลังกาย เมื่อศึกษาเพิ่มเติมในผู้เข้าร่วมวิจัยเดิมจำนวน 12 ราย พบว่าคะแนนเฉลี่ย ABI หลังออกกำลังกายทันทีมีค่าลดลงต่ำกว่าก่อนกำลังกายเช่นกัน แต่มีค่าเพิ่มขึ้นในนาทีที่ 10 ใกล้เคียงกับก่อนออกกำลังกาย ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า ควรนำวิธีการออกกำลังกายโดยการเต้นท่าโขนไปใช้ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และบุคคลทั่วไปที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย เพื่อชะลอการเกิดโรค PAOD
คำสำคัญ: การออกกำลังกายโดยการเต้นท่าโขน ABI เบาหวานชนิดที่ 2
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น