ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

Main Article Content

กมลเนตร สิงหะพล
กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์
ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ
ปริญญา ลีลายนะ

Abstract

บทคัดย่อ: 

การวิจัยเชิงบรรยายแบบศึกษาย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงในระยะก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแผลผ่าตัด ระหว่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อแผลผ่าตัดและไม่ติดเชื้อแผลผ่าตัด และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงระหว่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อแผลกลางหน้าอกและติดเชื้อแผลบริเวณขา ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2554 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 จำนวน 218 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยตามแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ Fisher’s exact test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการติดเชื้อแผลผ่าตัดจำนวน 10 ราย (ร้อยละ 4.6) เป็นการติดเชื้อ แผลกลางหน้าอก จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 1.8) และติดเชื้อแผลบริเวณขาจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 2.8) โดยจำแนกเป็นการติดเชื้อแผลผ่าตัดชั้นตื้น จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 0.5) การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อชั้นลึก จำนวน 7 ราย (ร้อยละ 3.2) และการติดเชื้อที่เยื่อบุช่องอก จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 0.9) ปัจจัยเสี่ยงระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อแผลผ่าตัดกับไม่ติดเชื้อแผลผ่าตัดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีดังนี้ ระยะก่อนผ่าตัด ได้แก่ ภาวะอ้วน ภาวะขาดสารอาหาร ระยะระหว่างผ่าตัดได้แก่ ระยะเวลาผ่าตัดมากกว่า 4 ชั่วโมง การใช้หลอดเลือดแดงจากหน้าอก การใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมและระยะหลังผ่าตัด ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตตํ่า ระดับนํ้าตาลในเลือดหลังผ่าตัดมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ การใช้เครื่องปั๊มบอลลูนในหลอดเลือดเอออร์ต้า ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่า 48 ชั่วโมง และการได้รับยาโดปามีน โดบูทามีน และอะดรินาลีน นอกจากนี้ พบว่าปัจจัยเสี่ยงระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อแผลกลางหน้าอกกับติดเชื้อแผลบริเวณขา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น การประเมินผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อแผลผ่าตัด เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนการพยาบาลทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อแผลผ่าตัด

คำสำคัญ:การติดเชื้อแผลผ่าตัด ปัจจัยเสี่ยง การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

 

Abstract:

This retrospective research is aimed to compare risk factors between surgical site infected patients and non-infected patients as well as between sternal wound infection and leg wound infection during preoperative, traoperative, and postoperative coronary artery bypass graft (CABG) surgery. Subjects were 218 CABG patients, admitted between January 2011 and December 2011. Data were collected from hospital health records according to risk factors assessment forms related to surgical site infections after CABG surgery. Data were analyzed by using descriptive statistic. Fisher’s exact test was used for ferential statistical analysis. The results showed that surgical site infections developed in 10 patients (4.6%), including 4 (1.8%) sternal wound infected patients and 6 (2.8%) leg wound infected patients. Of the 10 patients who had surgical site infections, 1 (0.5%) had a superficial incisional surgical site infection, 7(3.2%) had a deep incisional surgical site infection, and 2 (0.9%) had mediastinitis. The risk factors were significantly different between surgical site infected patients and non-infectedpatients. Preoperative risk factors included obesity and malnutrition. In addition, intraoperative risk factors included duration of surgery of more than 4 hours, use of internal mammary arteries, and use of cardiopulmonary bypass. Moreover, postoperative risk factors included hypotension, glucose levels after surgery of more than 200 mg%, use of intra-aortic balloon pump, ventilator support time of more than 48 hours, and receiving dopamine, dobutamine, and adrenaline. However, all risk factors were not significantly different betweensternal wound infected patients and leg wound infected patients. Therefore, the assessment of high risk surgical site infections after CABG surgery should be concerned with the nursing care plan during preoperative, intraoperative, and postoperative stages in or der to prevent and control surgical site infections.

Keywords:

Surgical site infections, Risk factors, Coronary artery bypass graft 

 

Article Details

How to Cite
1.
สิงหะพล ก, คุววัฒนสัมฤทธิ์ ก, หาญประสิทธิ์คำ ข, ลีลายนะ ป. ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 23];20(1):33-49. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/19179
Section
บทความวิจัย