ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

สุภามาศ ผาติประจักษ
สมจิต หนุเจริญกุล
นพวรรณ เปียซื่อ

Abstract

บทคัดย่อ:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวาน
ชนิดที่ 2 จำนวน 100 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ 2) แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน และ 3) แบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับผู้เป็นเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้นผลการศึกษาพบว่า ผู้เป็นเบาหวานมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองอยู่ในระดับดีและค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีมาก และพบว่าการเข้ากลุ่มส่งเสริมการดูแลตนเองสามารถทำนายความสามารถในการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวานได้ ร้อยละ 48.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและปัจจัยการเข้ากลุ่มส่งเสริมการดูแลตนเองและความสามารถในการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การมีภาวะแทรกซ้อนทางไตมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเข้ากลุ่มส่งเสริมการดูแลตนเองความสามารถในการดูแลตนเอง และการมีภาวะแทรกซ้อนทางไตสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวานได้ร้อยละ 57.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยการเข้ากลุ่มส่งเสริมการดูแลตนเองมีอำนาจในการทำนายสูงที่สุด ดังนั้น ควรส่งเสริมการจัดกลุ่มส่งเสริมการดูแลตนเองให้กับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานมีความสามารถในการดูแลตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดี


คำสำคัญ: ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต ปัจจัยทำนายกลุ่มส่งเสริมการดูแลตนเอง

 

Abstract:

The objectives of this study were to determine factors predicting self-care abilities and quality of life in persons with diabetes. The participants in this study included 100 adults with diabetes receiving care in a tertiary hospital, Southern Thailand.
Data were collected by interview from questionnaires. The instruments included 1) personal information and health status record form; 2) the Diabetes Self-care Abilities Questionnaire; and 3) the Diabetes Quality of Life Questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and hierarchical multiple regression analysis. The results showed that the mean score of self-care abilities were at good level. Mean score of quality
of life were at very good level. Being in support group could predict 48.4% of variance in self-care abilities. Also, being in support group and self-care abilities were statistically
positive correlated with quality of life. Having renal complication was statistically negative correlated with quality of life. The result of hierarchical multiple regression analysis revealed that being in support group, self-care abilities, and having renal
complication predicted 57.7% of variance in quality of life. Being in support group was the highest predictor of quality of life. Therefore, promoting support group for persons with diabetes should be done to enhance their self-care abilities and quality of life.


Keywords: Person with type 2 diabetes, Self-care abilities, Quality of life, Predictive factors, Support group

Article Details

How to Cite
1.
ผาติประจักษ ส, หนุเจริญกุล ส, เปียซื่อ น. ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 23];20(1):97-111. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/19200
Section
บทความวิจัย