ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการ
ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน โดยใช้ทฤษฎีความเชื่อด้าน
สุขภาพเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน
ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิคตรวจโรคระบบประสาททางอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง
ในสังกัดกระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 88 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ
พฤติกรรมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และ
แบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการ
วิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 63.91 ปี ร้อยละ 72.7 เป็นเพศชาย และร้อยละ 61.3 มีค่า
ดัชนีมวลกายมากกว่าระดับมาตรฐาน อายุและการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ
ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ
การรับรู้อุปสรรคมีควาามสัมพันธ์ทางลงกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการปฏิบัติ
พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อไป
คำสำคัญ: อายุ โรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค พฤติกรรม
สุขภาพ
ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการ
ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน โดยใช้ทฤษฎีความเชื่อด้าน
สุขภาพเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน
ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิคตรวจโรคระบบประสาททางอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง
ในสังกัดกระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 88 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ
พฤติกรรมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และ
แบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการ
วิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 63.91 ปี ร้อยละ 72.7 เป็นเพศชาย และร้อยละ 61.3 มีค่า
ดัชนีมวลกายมากกว่าระดับมาตรฐาน อายุและการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ
ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ
การรับรู้อุปสรรคมีควาามสัมพันธ์ทางลงกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการปฏิบัติ
พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อไป
คำสำคัญ: อายุ โรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค พฤติกรรม
สุขภาพ
Article Details
How to Cite
1.
Joychoo N, Pinyopasakul W, Chareonkitkarn V. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Oct. 27 [cited 2024 Dec. 23];20(2):236-48. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/22501
Section
บทความวิจัย
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น