การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพยาบาลภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย

Main Article Content

สุทธานันท์ กัลกะ
รุ่งนภา จันทรา
ปนิดา พุ่มพุทธ

Abstract

บทคัดย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับ
การพยาบาลภาวะซึมเศร้า และ 2) สรุปผลการวิจัยที่เกี่ยวกับการพยาบาลภาวะซึมเศร้าโดยรวบรวมข้อมูลงานวิจัยจากฐานข้อมูลต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์และการสืบค้นด้วยตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปี พ.ศ. 2555 มีงานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 42 เรื่อง ผลการสังเคราะห์พบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลิตจากทบวงมหาวิทยาลัย และประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยทั้งสองเพศ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 10-20 ราย งานวิจัยส่วนใหญ่ 1) มีการระบุปัญหา วัตถุประสงค์ และกรอบแนวคิดการวิจัย 2) เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง 3) ไม่มีการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง 4) เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ใช้กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มในการวิจัย และ 5) ใช้สถิติร้อยละและสถิติทีในการวิเคราะห์ข้อมูล รูปแบบการพยาบาลภาวะซึมเศร้าที่ศึกษามี 4 รูปแบบ ได้แก่ การพยาบาลตามทฤษฎีปัญญานิยม การบำบัดตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ การพยาบาลตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม และการพยาบาลตามแนวคิดทางเลือกอื่น ทั้ง 4 รูปแบบสามารถลดภาวะซึมเศร้าได้ระยะหลังการทดลอง ระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ระยะติดตามผล 1 เดือนและระยะติดตามผล 3 เดือน จากการสังเคราะห์สามารถนำไปใช้ในการพยาบาลภาวะซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตาม ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มมีการวัดผลลัพธ์ระยะติดตามผลและมีการศึกษาในกลุ่มผู้ดูแลและผู้ป่วยทางจิตให้มากขึ้น


คำสำคัญ: ภาวะซึมเศร้า การสำรวจงานวิจัย การพยาบาล

Article Details

How to Cite
1.
กัลกะ ส, จันทรา ร, พุ่มพุทธ ป. การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพยาบาลภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. Nurs Res Inno J [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Nov. 20];20(3):289-303. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/30412
Section
บทความวิจัย