การพัฒนาตัวบ่ง ี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

พิศสมัย อรทัย
เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) ตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นในด้านความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้างและ3) สำรวจสภาพคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลตามตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น ประชากรตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปีที่ 1, 2, 3, และ 4 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 767 คนเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง โดยใช้แบบสอบถามคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาลเว้นระยะห่าง 3 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความเที่ยงแบบวัดซ้ำและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์ความตรงและความเที่ยงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า ความเที่ยงแบบวัดซ้ำของแบบสอบถามมีค่าค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของตัวบ่งชี้ส่วนใหญ่มีค่าสูง ยกเว้นความซื่อสัตย์สุจริตและความมีวินัย โมเดลการวัดคุณธรรมจริยธรรมมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของทุกตัวบ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวบ่งชี้ที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดคือ ความรับผิดชอบเชิงวิชาชีพ รองลงมาคือความเอื้ออาทร ความร่วมมือ ความยุติธรรม ความมีกาลเทศะ ความเมตตากรุณา ความอดทนความซื่อสัตย์สุจริต ความมีวินัย และความตรงต่อเวลา ตามลำดับ ความเที่ยงเชิงโครงสร้างของทุกตัวบ่งชี้มีค่าปานกลางถึงสูง ผลการสำรวจสภาพคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลพบว่านักศึกษารับรู้ว่าตนเองมีคุณธรรมจริยธรรมทุกด้านอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม นักศึกษาประเมินตนเองว่า มีความอดทนต่ำสุด ในขณะที่มีความซื่อสัตย์สุจริตสูงสุด ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการนำตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมไปใช้กำหนดกลยุทธ์ในการประเมิน และศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล

คำสำคัญ : ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม, ความรับผิดชอบเชิงวิชาชีพ, ความเอื้ออาทร, นักศึกษาพยาบาลความตรงเชิงโครงสร้าง

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop the moral virtue indicatorsfor nursing students, 2) to examine the reliability and construct validity of thedeveloped indicators, and 3) to survey the state of moral virtue of nursing studentsfollowing the developed indicators. The accessible population was 767 first-year,second-year, third-year, and fourth-year Ramathibodi nursing students in theacademic year 2008. Data were collected twice with a 3-week interval using theNursing Students Moral Virtue Questionnaire. Data analyses used descriptivestatistics, test-retest reliability, Cronbach’s alpha coefficients using the SPSSprogram. Construct validity and construct reliability were analyzed using the LISRELprogram. The major findings revealed that test-retest reliability of the NursingStudents Moral Virtue Questionnaire was in a rather high level. Almost all of themoral virtue indicators provide Cronbach’s alpha coefficients in a high level,excepting the fidelity and discipline. The measurement model of moral virtue had aconstruct validity and fitted nicely to the empirical data. All factor loadings werestatistical significance. The most important indicator was professional responsibilityfollowed by caring, cooperation, justice, propriety, kindness, patience, fidelity,discipline, and punctuality. The construct reliability of ten indicators varied frommoderate to high. The state of moral virtue of nursing students showed that the moralvirtue was perceived by students in a high level. However, patience was perceived asthe lowest level, whereas honesty was perceived as the highest level. The presentfindings provide valid and reliable moral virtue indicators and support for the use ofindicators for establishing evaluation strategies and studying the trend of change in thelevel of moral virtue of nursing students.

Keywords : Moral virtue indicators, Professional responsibility, Caring, Nursing students,Construct validity

Article Details

How to Cite
1.
อรทัย พ, เกิดดอนแฝก เ. การพัฒนาตัวบ่ง ี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2025 Jan. 15];16(3):350-63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8989
Section
บทความวิชาการ