ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐ

Main Article Content

ธัชมน วรรณพิณ
วาสินี วิเศษฤทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ความสุขในการทำงานพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพ สถานภาพ พนักงานมหาวิทยาลัย ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภายใต้กำกับรัฐแห่งหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานว่า เป็นผู้ที่มีความสุขในการทำงานยิ้มแย้มแจ่มใส กระตือรือร้น ในการทำงานและยินดีเข้าร่วมการเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยคัดเลือกแบบเจาะจง และจากการบอกต่อ แบบลูกโซ่ จำนวน 12 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และนำข้อมูลมาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามวิธีของแวน มาเนน (van Manen) ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลให้ความหมายความสุขในการทำงานที่รับรู้และตีความตามความคิดและประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า เป็นความอิ่มเอมใจภาคภูมิใจในการทำงานพยาบาลซึ่งเป็นงานที่ท้าทายความรู้ ความสามารถ สั่งสมประสบการณ์พัฒนาจนเกิดทักษะเฉพาะตน ต้องมีความอดทน เสียสละ รับผิดชอบสูง และเป็นการทำงานที่มีคุณค่าทั้งต่อตนเอง และต่อชีวิตมนุษย์ทุกช่วงวัยที่ได้รับความ ทุกข์จากโรคภัยทั้งที่รักษาหายและไม่หาย ให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดูแลตนเองได้ ส่วนประสบการณ์ ความสุขในการทำงานพยาบาล พบ 6 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ความสุขจากการดูแลด้วยหัวใจ 2) มีความสุขเมื่อปรับตัวได้ 3) ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดี อบอุ่น และปลอดภัย 4) มีอิสระในงานที่ทำ 5) ได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงานและผู้ป่วย และ 6) สุขที่ได้พัฒนาตน พัฒนางานด้วย การได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพทำงานได้อย่างมีความสุข

คำสำคัญ: ความสุขในการทำงาน พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐ

 

Abstract

This research aimed at exploring the happiness at work of nurses in an autonomous university hospital. The method of this study was the interpretative phenomenological approach. The participants included 12 nursing university officers who were selected by using purposive sampling and snowball sampling techniques. These were individuals who indicated willingness to participate in an interview and who had identified themselves or were recommended by the head nurse or colleagues as someone who experienced joy from their work. Data were collected through in-depth interviews. The interviews were tape-recorded and transcribed verbatim as well as analyzed using the content analysis method of van Manen. The results of the research revealed two themes consisting of the meaning of happiness at work and the working experiences of nursing university employees. The meaning of happiness at work was identified through self-construals taking into account experience and a sense of work satisfaction and pride coming from work challenges. To develop working experience into professional skills, it requires patience, sacrifice and responsibility. Moreover, work value has been directly linked to one’s own benefit and the benefit of patients of all ages who suffer from both treatable and untreatable diseases to recover and perform self-care. Six sub-themes of the experiences of nursing work life resulting in a sense of happiness emerged from the study. They were: happiness from caring with heart, adaptive worklife, a working environment based on well-being and warm working atmosphere, making work more autonomous, receiving recognition from others including their co-workers and patients, and professional development. The findings experience joy through their work with implications for nursing administration to enhance nurses’ working environment.

Keywords: Happiness at work, Professional nursing staffs, Autonomous university hospital

Article Details

How to Cite
1.
วรรณพิณ ธ, วิเศษฤทธิ์ ว. ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐ. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 May 5];18(1):9-23. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8995
Section
บทความวิชาการ