ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้ต่อความสามารถในการทำกิจกรรมและการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย และจิตใจจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสมมีบทบาทสำคัญใน การลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้น การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้ต่อความสามารถในการทำกิจกรรม และการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มารักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 66 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 33 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ ร่วมกับโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้จากทีมผู้วิจัย ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จำนวน 3 ชุดคือ 1) แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วยและการรักษา 2) แบบสอบถามความสามารถในการทำกิจกรรม และ 3) แบบสัมภาษณ์การดูแลตนเอง ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมและการดูแลตนเองหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า โปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้สามารถนำมาใช้ใน การส่งเสริมความสามารถในการทำกิจกรรมและการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: โปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้ ความสามารถในการทำกิจกรรม การดูแลตนเอง ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Abstract
Heart failure has become a serious source of human suffering in both physical function and emotional well-being. From a literature review, self-care has shown to prevent persons with heart failure from the complications. The objective of this quasi-experimental research was to examine the effect of a supportive educational program on functional status and self-care of persons with heart failure. Purposive sampling was used to recruit 66 patients from the university hospital, Thailand. The sampling was divided into 33 patients each of a control group and experimental group. The control group received usual nursing care whereas the experimental group was given usual nursing care along with a supportive educational program developed by the researchers between August 2009 and June 2010. Data were collected using 3 sets of questionnaires including 1) the Demographic and Medical Form, 2) the Self- Care of Heart Failure Index Questionnaire, and 3) the Heart Failure Functional Status Inventory Questionnaire. The study revealed that the mean scores of functional status and self-care of the experimental group were significantly higher than those of the control group. The findings suggest that the supportive educational program should be used to promote functional status and self-care effectiveness in persons with heart failure.
Keywords: Supportive educational program, Functional status, Self-care, Persons with heart failure
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น