คุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแผลไหม้
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแผลไหม้ก่อนและหลังได้รับอุบัติเหตุ ใช้กรอบแนวคิดคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 36 คน อายุมากกว่า 15 ปี มีความรุนแรงของแผลไหม้ระดับ ปานกลางถึงรุนแรง ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ผู้วิจัยเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพทั่วไป และแบบประเมินคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพแบบเฉพาะโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติทดสอบที ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการตอบแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยแผลไหม้ในระยะก่อนได้รับอุบัติเหตุโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี แต่ระยะหลังได้รับอุบัติเหตุแผลไหม้ พบว่าคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับ ภาวะสุขภาพทั่วไปโดยรวมอยู่ในระดับดี สำหรับรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านความสามารถในการทำหน้าที่ด้านร่างกาย ความเจ็บปวดทางกาย ความกระฉับกระเฉง บทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากปัญหาด้านร่างกายและปัญหาทางด้านอารมณ์อยู่ในระดับไม่ดี คุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ ทั่วไปโดยรวมระยะก่อนได้รับอุบัติเหตุสูงกว่าหลังได้รับอุบัติเหตุแผลไหม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพแบบเฉพาะโรคโดยรวม หลังได้รับอุบัติเหตุแผลไหม้อยู่ในระดับดี แต่รายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านความสามารถในการดูแลตนเองเบื้องต้น การทำงานและการประกอบอาชีพ ความไวต่อความร้อนอยู่ในระดับไม่ดี ผลการศึกษาสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการวางแผนการพยาบาล การส่งเสริมฟื้นฟู คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะและข้อจำกัดของผู้ป่วยแผลไหม้ให้สามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตเกี่ยวกับสุขภาพ ความสามารถในการทำหน้าที่ ความเจ็บปวด ความ กระฉับกระเฉง ผู้ป่วยแผลไหม้
Abstract
The purpose of this descriptive research was to explore health-related quality of life in burn patients, before and after the burn injury. The health-related quality of life was used as the conceptual framework of this study. A purposive sample was selected consisting of 36 patients, who were over 15 years of age and were diagnosed with moderate to severe burns. Data were obtained by surveying patients at Ramathibodi Hospital and Nopparat Rajathanee Hospital in Bangkok. Instruments used for data collection including the Demographic Data Form, the Short Form-36 Version 2 (SF-36V2) and the Burn Specific Health Scale-Brief (BSHS-B). The data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The main finding of this study showed that the overall generic health-related quality of life (SF-36V2) was good before the burn injury, but poor after the burn injury. Each domain of generic health-related quality of life including physical function, bodily pain, vitality, general health, and role limitation due to physical and emotional problems was poor after burn injury. In addition, the results revealed that the generic health-related quality of life before burn injury was significantly higher than after burn injury. Moreover, this study also found that after burn injury overall diseasespecific health-related quality of life (BSHS-B) was good. However, the domains of BSHS-B including simple ability, work, and heat sensitivity were poor. Based on these findings, nurses could use the data for developing a care plan to improve quality of life in burn patients.
Keywords: Health-related quality of life, Physical function, Bodily pain, Vitality, Burn patients
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น