ปัจจัยคัดสรรในการทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนของบุคลากร ทางการพยาบาล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ภาวะกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสตรี การประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนเป็นสิ่งสำคัญ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยบรรยายเชิงความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของปัจจัยคัดสรร (อายุ การศึกษา รายได้ ค่าดัชนีมวลกาย การใช้ฮอร์โมนทดแทน ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน) ในการทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนของบุคลากรทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค และผู้ช่วยพยาบาลที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 60 ปี จำนวน 170 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Enter ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรทางการพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุนอยู่ในระดับปานกลาง และ ร้อยละ 82.9 มีพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนโดยรวมอยู่ในระดับต่ำโดยการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุน ในขณะที่ความมั่นใจในสมรรถนะของตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนและการรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุน โดยปัจจัยคัดสรรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ร้อยละ 28 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความมั่นใจในสมรรถนะของตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนเป็นปัจจัยที่มีความสามารถในการทำนายสูงที่สุด ผลจากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้มีการจัดโปรแกรมส่งเสริมการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนให้แก่บุคลากรทางการพยาบาลโดยเน้นการส่งเสริมความมั่นใจในสมรรถนะของตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนและการรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนรวมถึงลดการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนของบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนในอนาคต
คำสำคัญ : ภาวะกระดูกพรุน, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ความมั่นใจ,ในสมรรถนะของตน, การรับรู้อุปสรรค, บุคลากรทางการพยาบาล
Abstract
Osteoporosis is a silent disease affecting primarily women. A current approachfor the assessing of several factors related to the osteoporosis preventive behaviors(OPPB) such as weight-bearing exercise and calcium intake is needed. The aim ofthis descriptive correlational study was to investigate the predictive power of selectedfactors (age, education level, income, body mass index, hormone replacement therapy,knowledge about osteoporosis, and health belief about osteoporosis) to osteoporosispreventive behaviors among nursing personnel. A total sample of 170 nursingpersonnel consisting of professional nurses, technical nurses, and practical nursesaged from 20 to 60 years were recruited in the study. The research setting includedthree government tertiary care hospitals in Bangkok. Data collection were conductedfrom April to June, 2008. Statistical analysis was performed using Pearson’s productmoment correlation coefficient and multiple regression with the Enter method. Findingsrevealed that participants had a moderate level of osteoporosis knowledge, and 89.2%of them had a low level of OPPB. In addition, a significant inverse relationship wasfound between perceived barriers towards osteoporosis preventive behavior and OPPB.Yet a positive relationship was found between self-efficacy and OPPB, and betweenhealth motivation in osteoporosis prevention and OPPB. All selected variables couldtogether explain 28% of the variance in OPPB; self-efficacy in osteoporosis preventionemerged as the strongest predictor of OPPB among participants. The results suggestthat interventions should aim at promoting self-efficacy in osteoporosis prevention aswell as public health motivation in osteoporosis prevention. Interventions should alsoaim to reduce perceived barriers to osteoporosis preventive behaviors among nursingpersonnel in order to decrease their risk of osteoporotic fractures later in life.
Keywords : Osteoporosis, Preventive behavior, Self-efficacy, Perceived barriers, Nursingpersonnel
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น