ปัจจัยทำนายความผาสุกในครอบครัวของสตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์

Main Article Content

ศรีสมร ภูมนสกุล
ปรานี ป้องเรือ
กุลสตรี วรรธนะไพสิฐ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของแรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส และการรับรู้ภาวะสุขภาพต่อความผาสุกในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวต่อภาวะวิกฤตของครอบครัวของแมคคับบินและคณะ เป็นพื้นฐานในการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง และรับไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยการให้ยาลดความดันโลหิตหรือยาป้องกันภาวะชัก จำนวน 82 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส การรับรู้ภาวะสุขภาพและความผาสุกในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอย พหุคูณแบบบังคับเข้า (multiple regression: Enter Model) ผลการวิจัยพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส และการรับรู้ภาวะสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายความผาสุกในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 43 โดยเฉพาะสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์มากที่สุด ดังนั้น จึงควรมีการประเมินความผาสุกในครอบครัวและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสในสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อวางแผนส่งเสริมสามีให้มีส่วนร่วมในการดูแลสตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้ให้สามารถเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผาสุกในครอบครัว

คำสำคัญ: ความผาสุกในครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส

 

Abstract

This descriptive research aimed to investigate the predictability of social support, self-esteem, marital relationship and perceived health on family well-being of pregnant women with pregnancy-induced hypertension. McCubbin’s theory of family crisis was used as the conceptual framework for the study. The study group consisted of 82 pregnant women who had been diagnosed with severe pregnancyinduced hypertension, and were admitted to the hospital. The subjects were recruited by means of purposive sampling, and data were elicited using the 5 questionnaires. Multiple regression with the Enter method was used to analyze the data. The study findings revealed that all study predictors (social support, self-esteem, marital relationship, perceived health, and family well-being) could predict family well-being of pregnant women with pregnancy-induced hypertension, accounting for 43 % of the variance. Based on these findings, it is recommended that staffs should assess both of the hospitalized pregnant women’s sense of family well-being and marital relationship in order to promote, support, and prepare family members, especially husbands, for participation in providing care for these pregnant women so that they could cope with stress properly, and family well-being could be enhanced.

Keywords: Family well-being, Social support, Self-esteem, Perceived health, Marital relationship

Article Details

How to Cite
1.
ภูมนสกุล ศ, ป้องเรือ ป, วรรธนะไพสิฐ ก. ปัจจัยทำนายความผาสุกในครอบครัวของสตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Nov. 22];17(3):382-95. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9041
Section
บทความวิชาการ