การได้รับการตอบสนองความต้องการและการเผชิญความเครียดของญาติ ก่อนย้ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ การได้รับการตอบสนองความต้องการ ความเครียด และการเผชิญความเครียดของญาติก่อนย้ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต โดยใช้ทฤษฏีความเครียดและการเผชิญความเครียดของลาซารัสและโฟล์คแมนเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 105 ราย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของญาติผู้ป่วย แบบสอบถามการรับรู้ความเครียด และแบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติทดสอบที และข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของญาติก่อนย้ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตสูงกว่าการได้รับการตอบสนองความต้องการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความต้องการรายด้านที่ญาติผู้ป่วยต้องการมากที่สุดคือ ความต้องการข้อมูล รองลงมาคือ ความต้องการลดความวิตกกังวลส่วนความต้องการที่น้อยที่สุดคือ ความต้องการกำลังใจและระบายความรู้สึก การได้รับการตอบสนองความต้องการที่ญาติผู้ป่วยได้รับมากที่สุดคือ ด้านการลดความวิตกกังวล ส่วนความต้องการที่ได้รับการตอบสนองน้อยที่สุดคือ ความต้องการส่วนบุคคล นอกจากนี้ พบว่าก่อนย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต ญาติผู้ป่วยมีความเครียดในระดับน้อย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ญาติผู้ป่วยที่พบว่า ญาติผู้ป่วยมีความรู้สึกดีใจมากที่สุด รองลงมาคือ มีความรู้สึกเครียด และเมื่อเกิดความเครียด ญาติผู้ป่วยทั้งหมดใช้วิธีการเผชิญความเครียดทั้งการมุ่งแก้ปัญหา และการจัดการกับอารมณ์ ผลการศึกษาสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการวางแผนการพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของญาติผู้ป่วย โดยการให้ข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสม และเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการประเมินความเครียดและให้การช่วยเหลือญาติผู้ป่วยในการเผชิญความเครียด และนำไปพัฒนาระบบการวางแผนการย้ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตให้มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การได้รับการตอบสนองความต้องการ, การเผชิญความเครียด, ญาติผู้ป่วยภาวะวิกฤต
Abstract
The purpose of this descriptive research was to explore needs, responses toneeds, stress, and coping of patients’ relatives before transferring from Intensive CareUnits (ICU). The stress and coping model of Lazarus and Folkman was used as theconceptual framework of this study. The purposive sample consisted of 105 relativesof patients. Instruments used for data collection were: The Demographic Data Form,The Needs and Responses to Needs of Patients’ Relatives Questionnaire, a semistructuredinterviewing form, The Perceived Stress Questionnaire, and the JalowiecCoping Scale (JCS). The quantitative data were analyzed using descriptive statisticsand paired t-test, and qualitative data were analyzed using content analysis. The resultsrevealed that the mean score of needs was found to be significantly higher than themean score of responses to needs. The most common need was information, the secondwas release of anxiety, and the least common needs were psychological supportand expression of feelings. The most response to needs was release of anxiety and theleast was personal needs. The mean score for the relative’s stress was at a low level;however, the score was consistent with the qualitative data concerning the relatives’feelings before transferring patients from the intensive care unit. The result showedthat the most common feeling of patients’ relatives was happiness, and the second wasstress. All relatives of patients combined two coping strategies which were problemfocusedcoping and emotional-focused coping. Based on these findings, nurses shoulddevelop a care plan to meet relatives’ needs by giving them adequate and appropriateinformation , and use guidelines to assess the stress of patients’ relatives and helpthem find proper ways to cope with stress. In addition, the results should be used todevelop transferring systems from the ICU to a general ward effectively.
Keywords : Responses to needs, Coping to stress, Critically ill patients’ relatives
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น