ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรค เอส แอล อี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเอส แอล อี ปัจจัยที่นำมาศึกษาคือ ปัจจัยด้านยา ได้แก่ จำนวนชนิดยาที่รับประทานต่อวัน จำนวนเม็ดยาที่รับประทานต่อวัน ความถี่ในการรับประทานยาต่อวัน การรับรู้การเกิดอาการข้างเคียงจากยา ปัจจัยด้านความรู้เรื่องโรคเอส แอล อี และการใช้ยา และความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วย ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอส แอล อี การรับรู้ประโยชน์ของ การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และการรับรู้อุปสรรคต่อการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเอส แอล อี จำนวน 160 ราย ที่มาตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านยาและ ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเอส แอล อี และการใช้ยา และแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอันดับสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ความรู้เรื่องโรคเอส แอล อี และการใช้ยา การรับรู้ความรุนแรงเกี่ยวกับโรคเอส แอล อี และการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมออยู่ในระดับมาก ส่วนการรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมออยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า ความรู้เรื่องโรคเอส แอล อีและการใช้ยา และการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอส แอล อี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสม่ำเสมอในการรับประทานยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอส แอล อีและการใช้ยา และความรุนแรงของโรค และลดอุปสรรคในการรับประทานยาเพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาสม่ำเสมอและส่งผลดีต่อการ ควบคุมโรค
คำสำคัญ: โรคเอส แอล อี ความรู้เรื่องโรคและการใช้ยา การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้อุปสรรค ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา
Abstract
The objectives of this descriptive research were to examine factors related to medication adherence among patients with systemic lupus erythematosus (SLE). These were medication factors which included the number of drugs, the amount of tablets, frequency of medication taken, and patients’ perceptions on medication’s side effects of treatment of SLE. Other factors were patients’ knowledge about SLE and medication usage, and health belief variables, which were perception on severity of SLE, perception of the benefits, and perception of barriers for medication adherence. The sample group consisted of 160 SLE patients who had their routine follow-up at the outpatient department of Ramathibodi Hospital, Bangkok, from September to November, 2010. Purposive sampling was used. Four questionnaires were used as research tools, including personal information, medication usage factors and frequency of medication taken, knowledge of SLE and medication usage, and health belief models questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank correlation. Research results showed that patients’ medication adherence, patients’ knowledge about SLE and medication usage, perceived severity of SLE, and perceived benefits were in the high level, whereas perceived barriers to medication adherence was in the moderate level. Patients’ knowledge about SLE and medication usage and perceived severity of SLE were significantly related to patients’ medication adherence. Perceived barriers to medication adherence were negatively and related to patients’ medication adherence. The results of this study indicated that the knowledge about SLE and medication usage, and severity of disease should be promoted. Reduce barriers to medication adherence will help the patient adherence to medication and disease control.
Keywords: Systemic lupus erythematosus, Knowledge about SLE and medication usage, Perceived severity of SLE, Perceived barriers, Medication adherence
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น