พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต โดยใช้แนวคิดการดูแลตนเองที่จำเป็นของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 63 ราย ที่มารักษาที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานยา และด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอยู่ในระดับดีมาก ด้านอารมณ์อยู่ในระดับดี ด้านอาหาร และด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลควรเน้นย้ำให้ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต เห็นความสำคัญของพฤติกรรมการดูแลตนเองด้าน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน และด้านการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญ และเคร่งครัดในการปฏิบัติตัวมากขึ้น นอกจากนี้ควรประสานงานกับนักโภชนบำบัดในการแนะนำเมนูอาหารแก่ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
คำสำคัญ: การปลูกถ่ายไต พฤติกรรมการดูแลตนเอง การดูแลตนเองที่จำเป็น ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม
Abstract
This descriptive research aimed to describe self-care behaviors of the persons with kidney transplantation. Orem’s self-care theory regarding self-care requisites was used as the research framework. Purposive sampling was used to select 63 subjects from the medical and surgical outpatients units, Ramathibodi Hospital. The demographic data form and the self-care behavior questionnaires were used to correct the data. They were analyzed in terms of percentage, mean, and standard deviation. The results showed that the subjects had an excellent level of self-care behaviors in medication use and daily activities, a good level of self-care behaviors in emotion, and a moderate level of self-care behaviors in prevention of post-operative complications and dietary. The results of this study suggested that nurses should emphasize self-care behaviors about prevention of post-operative complications and dietary intake in order to perform self-care behavior effectively. Moreover, the cooperation with nutritionists to advise appropriate food for persons with kidney transplantation can be beneficial in order to integrate in their daily life.
Keywords: Kidney transplantation, Self-care behaviors, Self-care requisites, Orem’s self-care theory
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น