ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ณปภา พุ่มไทรมูล Suratthani Hospital

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างให้ยาระงับความรู้สึก, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

              การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้การผ่าตัดดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น แต่ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีได้ทั้งในระหว่างและหลังผ่าตัด โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเปลี่ยนแปลงของสรีระของระบบต่างๆ ของร่างกาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดขณะผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มประชากรมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับการผ่าตัดทั่วไปและได้รับยาระงับความรู้สึก เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการระงับความรู้สึกของผู้ป่วยตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 559 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์และปัจจัยเสี่ยง ใช้ chi-square และ odd ratio ผลการศึกษาพบเพศชาย 299 ราย ร้อยละ 53.5, อายุเฉลี่ย 71.1 ปี, ASA classification 3 ร้อยละ 51.5, ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธี General anesthesia ร้อยละ 76.7และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 81.4 ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดระหว่างผ่าตัดร้อยละ 54.7 ปัจจัยด้านการมีโรคประจำตัว, ความแข็งแรงและความเสี่ยง (ASA Classification), การสูญเสียเลือด (Blood Loss) และระยะเวลาในการผ่าตัด มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดระหว่างผ่าตัดได้แก่ ระยะเวลาในการผ่าตัด 2-4 ชั่วโมง 4.539 (95 % CI =2.404-8.568 ) และสภาพความแข็งแรงและความเสี่ยง (ASA Classification) ระดับ 3 1.756 (95 % CI =1.2282.510)

References

1. Gupta S, Naithani U, Brajesh SK, Pathania VS, Gupta A.Critical incident reporting in anaesthesia: a prospective internal audit. Indian J Anaesth; 2009; 53: 425-33.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550.[ออนไลน์]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2560]. แหล่งที่มา: http://www.oppo.opp.go.th/info/report_surveyOlder50.

3. ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การพยาบาลผู้สูงอายุ ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น จำกัด; 2549.

4. Leung, J. M., Dzankic, S. Relative Importance of Preoperative Health Status Versus Intraoperative Factors in Predicting Postoperative Adverse Outcomes in Genetric Surgical Patients. Journal of the American Geriatrics; 2001;49(8): 1080-5.

5. Rodanant, O., Chiachoti, T., Veerawatakanon, T., Charoenkul, R., Soomboonviboon, W., Kojittavanit, N. Perioperative Myocardial Ischemia/infarction: Study of incidents from Thai Anesthesia Incidence Study (THAI Study). Journal of The Medical Association of Thailand; 2005;88 (Supp7): S54-61.

6. Rodanant, O., Hintong, T., Chua-in, W., Tanudsintum, S., Sirinanmd, C., Kyokong, O. The Thai Anesthesia Incidence Study (THAI Study) of Perioperative Death in Geriatric Patients. Journal of The Medical Association of Thailand; 2007; 90(7): 1375-81.

7. วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

8. ธีรวัฒน์ ชลาชีวะ, โฉมชบา สิรินันทน์ , วรพจน์ อภิญญาชน. The Incidence and Risk Factors of Major Cardiovascular Complications in Geriatric Orthopedic Surgery. Thai Journal Anesthesiology;2554; 37(1): 34-46.

9. Ngamprasertwong P, Kositanurit I, Yokanit P,Wattanavinit R, Atichat S, Lapisatepun W. The Thai Incident Monitoring study (Thai AIMS): An Analysis of Perioperative Myocadial Ischemia/Infarction. J Med Assoc Thai; 2008; 91(11):1698-705.

10. มลฤดี มาลา.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health; 2558;2(3):92-102

11. Ford MK, Beattie WS, Wijeysundera DN. Systematic review: prediction of perioperative cardiac complications and mortality by the Revised Cardiac Risk Index. Ann Intern Med; 2010;152(1):26–35.

12 มานี รักษาเกียรติศักดิ์. (2558).การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ.ตำราฟื้นฟูวิสัญญีวิทยา.ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร.พิมพ์ครั้งที่ 1; 2558. หน้า 207-214.

13 Story, D. A. Post OperativeMortarity and Complications Best. Practice Research; 2011; (25)3: 319: 27.

14 ธานินทร์ อินทรกำธรชัย.ภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-01

How to Cite

พุ่มไทรมูล ณ. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(4), 675–684. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/172063