ผลของการนำใช้แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สมฤดี ชัชเวช Suratthani Hospital
  • รุ่งฤดี เวชวนิชสนอง Suratthani Hospital
  • กุสุมา บุญรักษ์ Suratthani Hospital
  • ไพจิตร มามาตย์ Suratthani Hospital
  • ไพรัช พิมล Suratthani Hospital
  • สุพรรษา บุญศรี Suratthani Hospital

คำสำคัญ:

การนำใช้แนวปฏิบัติ, แบคทีเรียดื้อยา, 4Es model

บทคัดย่อ

              การติดเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียได้
              วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา และอุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาระหว่างก่อนและหลังการนำใช้แนวปฏิบัติฯ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคจากการนำใช้แนวปฏิบัติฯ
              วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดหนึ่งกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยใช้รูปแบบการจัดการเปลี่ยนแปลงหรือ 4 Es model (Engage, Educate, Execute and Evaluate) เก็บรวบรวมข้อมูลอัตราการติดเชื้อดื้อยาจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ก่อนการทดลอง (n=26) หลังการทดลอง (n=37) ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแบบบันทึกการสังเกตการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิลคอกซัน และสถิติไคสแควร์
              ผลการศึกษา พบว่าคะแนนการนำใช้แนวปฏิบัติการฯ ของพยาบาลก่อนและหลังดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.002) จำนวนครั้งการปฏิบัติตามแนวทางฯของพยาบาล หัวข้อการสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วย อุปกรณ์รอบเตียงผู้ป่วย เลือด สิ่งคัดหลั่ง และหัวข้อการสวมเสื้อคลุมเมื่อลำตัวจะสัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดก่อนและหลังการนำใช้แนวปฏิบัติฯ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาก่อนและหลังการนำใช้แนวปฏิบัติฯ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
              สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้รูปแบบการจัดการเปลี่ยนแปลงหรือ 4 Es model สามารถทำให้เกิดการนำใช้แนวปฏิบัติฯ ในบุคลากรได้ ทั้งนี้ควรมีการควบคุมปัจจัยกวนที่ส่งผลต่อการนำใช้แนวปฏิบัติฯ รวมถึงการกำกับ ติดตามให้บุคลากรทุกระดับปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติฯ อย่างต่อเนื่อง อันจะช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในผู้ป่วยได้อย่างยั่งยืน

References

1. Center for Disease Control and Prevention. Antibiotic Resistance Threats in the US. [online].2013. [cited 2016 April 2], Available from: http://www.cdc.gov/features/ Antibiotic Resistance Threats/index.html.

2. World Health Organization. Summary of the latest data on antibiotic resistance in the European Union. [online].2013. [cited 2016 April 2], Available from: http://ecdc.europa.eu/en/ publications/_layouts/forms/Publication_ DispForm.aspx?List=4f55ad51-4aed-4d32-b960-af70113dbb90&ID=1205

3. Kumar SG et al. Antimicrobial resistance in India: A review. [online]. 2013. [cited 2016 April 2], Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3783766

4. ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. สถานการณ์ความไวของเชื้อต่อยา. [ออนไลน์].2558. [cited 2016 April 2], Available, from: http://narst.dmsc.moph.go.th

5. วีรพงศ์ วัฒนาวนิช, พรรณทิพย์ ฉายากุล. การติดเชื้ออะซินีโตแบคเตอร์ในผู้ป่วยที่รับการรักษาในหออภิบาล. วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร; 2556; 31(2), 91-100.

6. ชมรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. แนวทางปฏิบัติการป้องกันและควบคุมเชื้อก่อโรคดื้อยา. ชมรมควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนา; 2557 หน้า 1-3.

7. Chan, Chi Fun. Molecular Epidermiology of Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus in Patients and their Surrounding Environment. Thesis of Microbiology of the University of Hong Kong in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Master of Medical Sciences.[online]. 2012. [cited 2016 April 2], Available from: from http://hub.hku.hk/bitstream/10722/173920/1/FullText.pdf

8. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลปี 2557. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต.

9. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. แนวทางปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปี 2557. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต.

10. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลปี 2558. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต.

11.Pronovost PJ. Creating High Reliability in Health Care Organizations.[online]. 2006. [cited 2016 July 4], Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16898981

12. ภัทรชัย กีรติสิน, อนุชา อภิสารธนรักษ์. Beta-lactamase ในแบคทีเรียแกรมลบ จากความรู้พื้นฐานสู่เวชปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง; 2555. หน้า 166-186.

13. Center for Disease Control and Prevention. MDRO Prevention and Control. [online].2006. [cited 2016 December 3], Available from:http://www.cdc.gov/hicpac/pdf/MDRO/Pages11_28MDROGuideline2006.pdf.

14. Suthat R, Charurat S, Termkiat K. Acinetobacter Infection in the Intensive Care Unit. Journal of Infectious Disease and Antimicrobial Agents; 2005; 22(2): 77-92.

15. ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, นงเยาว์เกษตรภิบาล, การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, พยาบาลสาร 2558; 42 (3): 119-134.

16. Apisanthanarak A, Khawcharoenporn T, Mundy LM. Practices to prevent multidrug-resistant Acinetobacter baumannii and methicillin-resistant Staphylococcus aureus in Thailand: a national survey. AJIC; 2013 ; 41(5): 416-21.

17. Haga Y. Central venous catheter-related infection.[online]. 2011. [cited 2016 December 3]. Available f rom: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21485103.

18. Pronovost P. Intrventions to decrease catheter-related bloodstream infections in the ICU: the Keystone Intensive Care Unit Project.[online]. (2008). [cited 2016 December 17]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19084146.

19. กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. อุปสรรคและสิ่งสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, พยาบาลสาร; 2558; 42 (4): 25-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-01

How to Cite

ชัชเวช ส., เวชวนิชสนอง ร., บุญรักษ์ ก., มามาตย์ ไ., พิมล ไ., & บุญศรี ส. (2017). ผลของการนำใช้แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(4), 697–708. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/172075