ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ของการผ่าตัดผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลกระบี่

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย สีสรรพ์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์การรักษาที่ดี, ผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ดี, การบาดเจ็บสมองจาก อุบัติเหตุ, ภาวะพร่องออกซิเจน

บทคัดย่อ

              การบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุเป็นสาเหตุที่พบบ่อยทำให้เกิดการเสียชีวิตหรือความพิการ โรงพยาบาลกระบี่ ได้กำหนดการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเป็นเข็มมุ่งในการดูแลผู้ป่วย การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา เพื่อหาปัจจัยที่มีผลลัพธ์การผ่าตัดมีผู้ป่วยจำนวน 62 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558 และติดตามผลการรักษาวันจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและหลัง 6 เดือน ผลการรักษาพบว่า ค่ากลางอายุของผู้ป่วยเท่ากับ 30.23 ปี (3-87 ปี) สัดส่วนเพศชายมากว่าเพศหญิง 2.6 ต่อ 1 ค่ากลางของเวลาตั้งแต่มาโรงพยาบาลถึงเวลาผ่าตัด 142.62 นาที (30 - 220 นาที) ระดับความรู้สึกตัวส่วนใหญ่เป็นระดับรุนแรงคิดเป็นร้อยละ 54.80 ม่านตาตอบสนองต่อแสงไม่เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 48.40 ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน ร้อยละ 96.80 เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองพบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง 30 ราย (ร้อยละ 48.39) เลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก 27 ราย (ร้อยละ 43.55 ) เลือดออกหลายตำแหน่ง 5 ราย(ร้อยละ8.06) ส่วนใหญ่กะโหลกศีรษะแตกยุบ 34 ราย (ร้อยละ54.84) การเคลื่อนที่ของแนวกึ่งกลางสมองส่วนใหญ่มากกว่าหรือเท่ากับ 5 มิลลิเมตร ร้อยละ 58.10 การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตาม Marshall classification อยู่ในระดับ Evacuated mass lesion ร้อยละ79.0 ส่วนใหญ่การผ่าตัดประเภท Decompressive craniectomy with clot remove ร้อยละ 69.40 อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 4.80 ประเมินผลลัพธ์ตาม glasglow outcome scale พบว่า ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยอยู่ในระดับ moderate disability ร้อยละ 38.70 และผลการประเมินหลังจำหน่าย 6 เดือนพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ good recovery ร้อยละ 53.20 ปัจจัยที่มีความ
สัมพันธ์กับผลการรักษาที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่อายุ GCS , pupil , Best motor response,hypoxia episode, hypotension และ glasglow outcome scale at discharge นำปัจจัยดังกล่าวมาหาความสัมพันธ์แบบ multivariate พบว่า hypoxia episode และ best motor response เป็นปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีในผู้
ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุที่ได้รับการผ่าตัด

References

1. กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์.สถิติการตาย 10 อันดับ. นนทบุรี ; กระทรวงสาธารณสุข. 2556

2. World Health Organization.road traffic deaths and portion of deaths by road user by country/area. URL http://www.who.int/violence injury prevention/road_
safety_statusสืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2559.

3. วิภูรัฐ ปุสสนาคะวาทิน.ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลกระบี่.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24:329-336.

4. จินต์ รุจิเมธาภาส .ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การผ่าตัดในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุ.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558;5:207-213.

5. ศุภโชค จิตรวาณิศ .สถานการณ์กำลังคนและปริมาณงานด้านประสาทศัลยศาสตร์ของประเทศไทยในปัจจุบันปัญหาและแนวทางแก้ไข.วารสารประสาทศัลยศาสตร์ 2553;25:27-39.

6. วิสิทธิ์ เสถียรวันทนีย์ .อัตราตายของผู้บาดเจ็บที่ศีรษะที่รักษาในหน่วยศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก ปี 2548-2550.พุทธชินราชเวชสาร2551;25:83-89.

7. Teasdale G,jennettB.Assessment of coma and impaired consciousness a practical scle.In:Lancet 1974;1:81-4.

8. ธเนศ ชาญด้วยกิจและคณะ .ผลการประเมินความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและผลลัพธ์ของผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.แพทยสารทหารอากาศ 2552;55:28-34.

9. Gecjfreymanley .hypotension,hypoxia,and head in juryfrequency,duration,andconsequences. ARCH SURG 2001;136:1118-1123.

10. Shisoka,JoanM.Factors that influence outcome of traumatic brain injury patients at Kenyatta National Hospital. URL http://erepository.uonbi.ac.ke:8080/
xmlui/handle/123456789/61665 สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2559

11. Cari-Axel Carisson,M.D.,Claes von Essen,M.D., and JanLofgren,M.D. .factors affecting the clinical course of patients with severe head injuries.journal of
neurosurgery 1968;29: 242-251.

12. SusmanM, DirussoSM, Sullivan T, RisucciD, NealonP,CuffS,Adi H .Traumatic brain injury in the elderly : increase mortality and worse functional outcome
at discharge despite lower injury:Analysis of 888 Cases Registered in the japan Neurotrauma Data Bank. World Neurosurgery 2014;82:1300-1306.

13. พิพัฒน ์ ชัยสุนทร .ปัจจัยที่มีผลตอ่ ความสำเร็จของการผ่าตัดสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลมุกดาหาร.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2553;7:24-31.

14. Christina GR, Rachel ET, Nancy RT, Paul KC, Richard GE, Joann GE .Acute traumatic subdural hematoma current mortality and functional outcomes in adult patients at a level I trauma center. J Trauma Acute Care Surg 2012;73:1348-54.

15. Cecilie R, Toril S, Audny A, Tiina A, Anne V, Stine BL, et al .Severe traumatic injury in Norway impact of age on outcome. JRehabil Med 2013;45: 734–40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-01

How to Cite

สีสรรพ์ ฉ. (2016). ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ของการผ่าตัดผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลกระบี่. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30(2), 37–45. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/178563