การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • บุญญรัตน์ เพิกเดช โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/reg11med.2020.1

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, รูปแบบการดูแล

บทคัดย่อ

              วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์และประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

              วิธีการศึกษา: เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และทีมสหสาขาวิชาชีพ เครื่องมือวิจัย คือ ผังการปฏิบัติงาน (Work flow) การให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด แผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบประเมินความพร้อมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนเริ่มกลืน แบบบันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย และแบบวัดความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ การดำเนินการวิจัย มี 4 ระยะ คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การนำรูปแบบไปใช้ และการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi Square และ Mann whitney U test

               ผลการศึกษา: 1) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ผังการปฏิบัติงาน (Work flow) การให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่ปรับให้เหมาะสมกับบริบท หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) ทีมบุคลากรที่มีความรู้และทักษะ และแผนการดูแล 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยพบว่า ระยะเวลา Door to Needle time และการติดเชื้อปอดอักเสบ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.013 และ p<0.001) ส่วน คะแนน NIHSS ลดลงก่อนจำหน่าย การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การเกิดแผลกดทับ คะแนน ADL เพิ่มขึ้นก่อนจำหน่าย ค่าใช้จ่ายในการรักษา และระยะเวลาวันนอน ไม่มีความแตกต่างกันเปรียบเทียบก่อนและหลังพัฒนารูปแบบ ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจโดยรวมต่อรูปแบบอยู่ในระดับสูง

              สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ เป็นการส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างทีม ผู้ป่วยได้รับการดูแลครอบคลุมองค์รวม มีแนวทางการดูแลเป็นแนวทางเดียวกัน และเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้ปฏิบัติการพยาบาลอย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าไม่สามารถลด การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การเกิดแผลกดทับ ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติเฉพาะ

References

สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://bps2moph.go.th/sites/default/files/kpimoph.

กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/repor_kpi.

ดิษนัย ทัศนพูนชัย. โรคหลอดเลือดสมองสาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาต [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://.sikarin.com/content/ Detail/1312stroke.

Powell SK. Case management: A practical guide to success in managed care: Lippincott Williams & Wilkins; 2000.

Borg WR, Gall MD. Research: An Introduction (4th Ed.). New York: Longman; 1983.

พรภัทร ธรรมสโรช, ดิษยา รัตนากร, สามารถ นิธินันทน์, นิจศรี ชาญณรงค์, อรอุมา ชุติเนตร, เจษฎา เขียนดวงจันทร์ และคณะ. ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐาน. Thai Stroke Society. 2015;14:75-85.

Stroke unit Trialists’ Collaboration. Organised inpatient (stroke unit) care for stroke. Cochrane Database of Systematic Reviews [Internet]. 2017 [cited 2018 September 9]. Available from: https://www.bmj.com/content/314/7088/1151.short.

ตุลาพร อินทนิเวศน์. ศึกษา กระบวนการการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (Stroke fast track) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2017;13(2):35-47.

เรณู มูลแก้ว. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเทพปัญญา จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

วันวิสา คำสัตย์. ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะต่อการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะกลืนลำบาก [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

อุไร คำมาก, ศิริอร สินธุ.ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือดต่อการฟื้นตัวด้านระบบประสาทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16:106-13.

อรุณรัตน์ อินทสุวรรณ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2559;30:335-43.

ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล, อรวรรณ อนามัย. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2016;26:142-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-23

How to Cite

เพิกเดช บ. . (2020). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 34(3), 7–21. https://doi.org/10.14456/reg11med.2020.1