อัตราความชุกของภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยธาลัสซีเมียและผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยในธาลัสซีเมียคลินิกโรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ ศิรประภานุรัตน์ โรงพยาบาลบางละมุง

คำสำคัญ:

ธาลัสซีเมียคลินิก, ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย, ภาวะแทรกซ้อนของโรคธาลัสซีเมีย, โรคธาลัสซีเมีย

บทคัดย่อ

ที่มา: โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในประเทศไทยซึ่งมีอาการหลากหลาย และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยธาลัส
ซีเมียและผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยในธาลัสซีเมียคลินิก

วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลแบบย้อนหลังในผู้ป่วยธาลัสซีเมียอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มาติดตามการรักษาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในธาลัสซีเมียคลินิก

ผลลัพธ์ คนไข้ในธาลัสซีเมียคลินิก 51 คน แบ่งเป็น ธาลัสซีเมียไม่พึ่งเลือด 40 คน และ ชนิดพึ่งเลือด 11คน พบว่ากลุ่มธาลัสซีเมียพึ่งเลือดมีภาวะเหล็กเกินและเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วทุกคน ส่วนกลุ่มธาลัสซีเมียไม่พึ่งเลือด มีภาวะเหล็กเกิน 27 คน (67.5%) และ เกิดภาวะแทรกซ้อน 32 คน (92.7%) สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด คือ ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ โดยพบถึง 43 คน (84%) จากกลุ่มธาลัสซีเมียไม่พึ่งเลือด 33 คน และ กลุ่มธาลัสซีเมียพึ่งเลือด 11 คน (P=0.47) ส่วนผลลัพธ์การดูแลคนไข้ในธาลัสซีเมียคลินิกเปรียบเทียบกับก่อนจัดตั้งคลินิก พบว่า  ระดับความเข้มเลือดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก  6.43 +1.14 g/dL เป็น 7.13 +1.03 g/dL (P<0.05)  มีการติดตามค่า ferritin เพิ่มขึ้นจาก 23คน (45.1%) เป็น 51คน (100%), (P<0.05)  ระดับ ferritinในช่วง 6 เดือน ลดลงจาก 2269.38 +2680.97 ng/mL เป็น 1881.16 +1599.15 ng/mL (P <0.05) และจำนวนคนไข้ได้รับยาขับเหล็กตามข้อบ่งชี้เพิ่มขึ้นจาก 12คน (31%) เป็น 38 คน (100%), (P<0.05)

บทสรุป ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่พบบ่อยในการศึกษานี้ คือ ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ นิ่วใน-ถุงน้ำดี และ ความดันหลอดเลือดปอดสูง ตามลำดับ และจะเห็นว่าการจัดตั้งธาลัสซีเมียคลินิกทำให้ผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น

References

จิตสุดา บัวขาว, ศิวาพร สังรวม, สมิทธิกร เย็นวัฒนา. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2560

Fucharoen S, Weatherall DJ. Progress toward the control and management of the thalassemias. Hematol Oncol Clin North Am 2016;30(2):359-71.

กิตติ ต่อจรัส, พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการรักษาภาวะโลหิตจางและธาลัสซีมีย. กรุงเทพฯ: สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย, 2563.

Musallam KM, Rivella S, Vichinsky E, Rachmilewitz EA. Non-transfusion-dependent thalassemias. Haematologica 2013;98(6):833-44.

Vichinsky E. Advances in treatment of alpha-thalassemia. Blood Rev 2012;26 Suppl 1:S31-4

Ekwattanakit S, Siritanaratkul N, Viprakasit V. A Prospective analysis for prevalence of complications in Thai nontransfusion-dependenct Hb E/β-thalassemia and α–thalassemia (Hb H disease). Am J Hematol. 2018;1–7.

Teawtrakul N, Jetsrisuparb A, Pongudom S, et al. Epidemiologic study of major complications in adolescent and adult patients with thalassemia in Northeastern Thailand: the E-SAAN study phase I.Hematology. 2018;23:1–6.

Galie N, Humbert M, Vachiery JL, et al. 2015 ESC/ERS guidelines for diagnosis and treatment of pulmonary hypertension: the Joint Task Force for the Diagnosis and Treatment of Pulmonary Hypertension of the European Society of Cardiology (ESC) and the European Respiratory Society (ERS): endorsed by Association for European Paediatric and congenital Cardiology (AEPC), International Society for Heart and Lung Transplant (ISHLT). Eur Respir J. 2015;46(4):903-975

Syed S. Mahmood, Thomas J. Wang. The epidemiology of congestive heart failure: the Framingham Heart Study perspective. Glob Heart. 2013 March 1; 8(1):77-82

Bornstein SR, Allolio B, Arlt W, et al. Diagnosis and Treatment of Primary Adrenal insufficiency: An Endocrine Society Clinical Practice guideline. J Clin Endocrinol Metab 2016;101(2):364-89

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. การสูญเสียปีสุขภาวะ : รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี : มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. 2560

Adham Abu Taha, Ahmad yaseen, Sa’d Suleiman, et al. Study of Frequency and Characteristics of Red Blood cell Alloimmunozation in Thalassemic Patients: Multicenter Study from Palestine. Advances in Hematology. 2019:1-5

มาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิค ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.2558

แนวทางการวินิจฉัยและการักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฉบับพิมพ์ครั้งที่1. สถาบันสุขภาพแห่งชาติมหาราชินี. 2557

คู่มือคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย. 2560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28

How to Cite

ศิรประภานุรัตน์ ส. . . (2023). อัตราความชุกของภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยธาลัสซีเมียและผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยในธาลัสซีเมียคลินิกโรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 37(1), 74–87. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/260176