ผลลัพธ์ของ ทุ่งสง Sepsis Treatment Protocol ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เปี่ยมสุข สฤกพฤกษ์ โรงพยาบาลทุ่งสง

คำสำคัญ:

การติดเชื้อในกระแสเลือด , แนวทางการรักษา , อัตราการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

บทนำ : การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะมีอัตราการเสียชีวิตสูงและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทางด้านสาธารณสุข การรักษาประกอบไปด้วย การให้สารน้ำ การให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสม การให้ยากระตุ้นความดันที่เหมาะสม ตลอดจนการกำจัดแหล่งติดเชื้อ

วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตและผลลัพธ์ด้านกระบวนการรักษาก่อนและหลังการใช้แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังกึ่งทดลอง เก็บข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่ได้รับการวินิจฉัยหลักและร่วมว่า sepsis and septic shock  กลุ่มก่อนใช้แนวทาง 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565 และ หลังใช้แนวทาง 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2565 

ผลการศึกษา : กลุ่มผู้ป่วยก่อนใช้แนวทางจำนวน 169 คน หลังใช้แนวทางจำนวน 277 คน ผลลัพธ์ด้านกระบวนการรักษาพบว่า ผู้ป่วยได้เข้า ICU เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.4 เป็น 23.8 (P=0.04) แพทย์นำแนวปฏิบัติมาใช้ เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 53.3 เป็น 63.3 (P=0.01) มีการประเมิน early warning sign มากขึ้น จากร้อยละ 42.6 เป็น 52.8 (P=0.02) ระยะเวลาในการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อและการให้ยาปฏิชีวนะพบว่าหลังใช้แนวทางมีความรวดเร็วขึ้น จาก 30 นาที เป็น  20นาที (P<0.001) และ 45 เป็น 30 นาที (P<0.001) การรักษาโดยการให้สารน้ำเกิน 30 ซีซี/กก/ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่ความดันต่ำ หลังใช้แนวทางมีการให้สารน้ำตามเกณฑ์มากขึ้นจากร้อยละ 55.1 เป็น 71.7 (P=0.042) อัตราการเสียชีวิตหลังหักการรักษาแบบประคับประคองลดลงจาก ร้อยละ 11.8 เป็น 9 (P=0.339)

สรุป : ผลลัพธ์ด้านกระบวนการรักษาหลังใช้แนวทางพบว่ากระบวนการรักษาดีขึ้นแต่ผลลัพธ์ด้านอัตราการเสียชีวิตไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

World Health Organization global report on the epidemiology and burden of sepsis. World Health Organization; 2018: 14-5

Kristina ER, Sarah CJ, Karea MA, Katya AS, Derrick T, Daniel RK, et al. Global, regional, and national sepsis incidence and mortality 1990-2017. Lancet. 2020; 395:200-11

อังคณา เกียรติมานะโรจน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563-4;5(9): 27-43

Panumgul L, Puwarawuttipanit W, Poungkaew A, Rongrungruang Y. Factor predicting sepsis in medical patient. Nurs SCI J.2021; 39 (3): 74-90

วีรยา ด่านเสนา, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการความเสี่ยงเชิงรุกเพื่อการเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลแก่งคอย.วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2020-1; 5(2): 78-99

Joonghee K, Kyuseok K, Heeyoung L. Epidemiology of sepsis in Korea a population-based study of incidence, mortality, cost and risk factors for death in sepsis. Clin Exp Emerg Med 2019 :49-63

Khwannimit B, Bhurayanontacha R. The epidemiology of and risk factors for mortality from severe sepsis and septic shock in a tertiary-care university hospital setting Thailand. Epidemiol. Infect.2009; 137: 1333–41

Chanu R, Travis MJ, Yasir H, Anupam P, Jack V, Cara OB, et al. Prevalence underlying causes and preventability of sepsis-associated mortality in US acute care hospitals. JAMA Netw Open. 2019;2(2); 1-14

Mahantassanapong C. Outcome of the Surin sepsis treatment protocol in sepsis management Srinagarind Med J 2012; 27(4): 332-9

Andrew R, Laura EE, Waleed A. Survival sepsis campaign international guidelines for management of sepsis and septic shock 2016. Int care Med; 43(3): 1-67

Mitchell MY, Laura EE, Andrew R. The surviving sepsis campaign bundle 2018 update. Cri Care Med. 2018; 46(6): 925-8

Laura E, Andrew R, Waleed A, Massimo A, Craig MC, Craig F, et al. Surviving sepsis campaign international guidelines for management of sepsis and septic shock. Intensive care Med 2021;47:1181-247

Cheranakorn C, Chanchaichijit T. Use of delta modified search out severity (∆M-SOS) score for early detect clinical deterioration in mechanically ventilated patients. J Med Assoc Thai. 2021;104 (2): 219-24

Simon EL, Truss K, Smalley CM, Mo K, Mangira C, Krizo J, Fertel BS. Improved hospital mortality rates after the implementation of emergency department sepsis teams. Am J Emerg Med. 2022 Jan; 51:218-22

มั่นจิตต์ ณ สงขลา, สมศรี ซื่อต่อวงศ์. ผลการรักษาผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อในโรงพยาบาลชลบุรี.วารสารวิชาการโรงพยาบาลชลบุรี 2564; 46(3): 179-88

ลัลธริดา เจริญพงษ์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช.วารสารแพทย์เขต 4-5 2563; 39(4): 542-60

Tuttle E,Wang X,Modrykamien A. Sepsis mortality and ICU length of stay after the implementation of an intensive care team in the emergency department. Intern Emerg Med .2023;(18):1789-96

Seenprachawong B. Outcome of using clinical practice guideline for sepsis in Trang Hospital. Region 11 Med.2020 July-Sep; 34(3):35-46

Garcia-Lopez L, Grau-Cerrato S, Frutos-Soto A, Bobillio-De Lamo F, Citores-Gonzalez R, Diez-Gutierrez, et al. Impact of the implementation of a Sepsis Code hospital protocol in antibiotic prescription and clinical outcome in intensive care unit. Med Intensiva.2017; 41(1): 12-20

Ruttanaseeha W, Hurnmek S, lenghong K, Gaysonsiri D, Apiratwarakul K, Bhudhissawasdi V.Implementation of sepsis protocol for timely antibiotic administration in the Emergency Department. J Med Asso Thai 2020; 103(6) : 4-7

Matupumanon S, Sutherasan Y, Junhasavasdikul D, Theerawit Pongdhep.Effect of sepsis protocol in inpatient departments triggered by Ramathibodi Early Warning Score (REWS) on treatment processes. Clinical Critical Care 2023; 31(1):1-11

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05