การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • เจียรณัย บัวลอย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การจัดเก็บรายได้ , การพัฒนาระบบ , ระบบการจัดเก็บรายได้ , โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

ที่มา: การแยกบทบาทการซื้อบริการจากการให้บริการของกระทรวงสาธารณสุข โดยจัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการตามหัวประชากรที่ลงทะเบียน ส่งผลให้โรงพยาบาลมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารงาน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพปัญหา แนวทางพัฒนา และประเมินแนวทางพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้โรงพยาบาลชุมชน

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนาด้วยการศึกษาข้อมูลย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้โรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2565 โดยใช้แนวคิดขั้นตอนของการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย ขั้นการวางแผนระบบ การศึกษาความต้องการ การพัฒนาระบบ และการนำไปปฏิบัติ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และประเมินการดำเนินการตามแนวทางพัฒนาโดยคะแนน risk scoring

ผลการศึกษา: การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ควรพัฒนาให้ครอบคลุมทุกด้าน คือ 1) บุคลากร จะต้องมีจำนวนและศักยภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2) งบประมาณ ต้องมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเพิ่มบุคลากรและจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ให้เพียงพอ 3) อุปกรณ์และเครื่องมือ ต้องเตรียมความพร้อมให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะโปรแกรมสนับสนุนการจัดเก็บรายได้ และ 4) การบริหารจัดการ ต้องมีการจัดโครงสร้างการบริหารงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ตลอดจนการวางแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรมีคณะกรรมการทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่อง       

สรุป: แนวทางพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ส่งผลให้โรงพยาบาลมีสถานทางการเงินที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้น จึงควรดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ทั้ง 4 ด้านอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

References

National Health Security Office (NHSO). (2022). The path to universal health coverage [Internet]. 2017. [cited 2022 July 1]. Available from: https://www.nhso.go.th/page/history.

Soonthontham, S. Principles of universal health coverage In the Thai health insurance system. Bangkok: Srimueang Printing; 2012.

Rewsuwan, W et al. The Analysis of Liquidity Ratios, Efficiency Ratios, Leverage Ratios And Ability Survive Ratios of Government Hospitals In Chiang Rai Province. Journal of Social Academic [Internet]. 2020; 13(1): 118-138.

Thaipublica. Crisis of the Thai health system, the government hospitals have negative funds at 558 hospitals, 12,700 million [Internet]. 2017. [cited 2022 July 1]. Available from: https://thaipublica.org/2017/12/public-health-services-65/.

Division of Health Economics and Health Security. Quarterly financial crisis assessment report 4/2019 [Internet]. 2019. [cited 2020 January 20]. Available from:http://hfo62.cfo.in.th.

Buranasompoj, N. An Effectiveness of revenue collection in direct disbursement of medical expense in Financial and Accounting department at Phetchabun hospital. Mahasarakham Hospital Journal [Internet]. 2017; 14(2): 38-45.

Bigs, C. L. Birks, E. G. and Atkins, W. Managing the systems development process. Engle wood Cliffs, NJ : Prentice Hall; 1980.

Boonprasert, U. Plan and project management: monitoring systems and processes control, supervision and evaluation. Bangkok: Chulalongkorn University; 1993.

Sukhothai Thammathirat Open University. Teaching documents, subject set 58708 Strategic Management in Hospital Administration. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24